กฏหมายชวนรู้ คู่ชีวิตประจำวัน

เรื่องของกฏหมายเป็นเรื่องที่แสนใกล้ตัวอย่างมากของประชาชนทุกคนไม่ใช่เกี่ยวข้องแค่เพียงกับทนาย หรือนักกฏหมายเท่านั้น เพราะในแต่ละวันการดำเนินชีวิตนั้นต้องมีกฏหมายเกี่ยวข้องอยู่เสมอโดยที่อาจจะไม่รู้ตัว การทำความรู้จักกฏหมายหรือศึกษาข้อมูลเกี่ยวกฏหมายที่พบบ่อย ๆ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก อาจจะทำให้ไม่เกิดการเสียเปรียบหรือรู้ทันกลโกงของผู้ไม่หวังดี

  • กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายที่วางระเบียบเกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ว่าด้วยเรื่องของทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก เป็นต้น
  • กฎหมายพาณิชย์ คือ มีความคล้ายกับกฏหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องสิทธิและหน้าที่ของบุคคล แต่จะวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน การจ่ายเช็ค กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
  • กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดนั้นมี ๕ ข้อ ได้แก่ ริบทรัพย์สิน ปรับ กักขัง จำคุก และประหารชีวิต 

ความผิดทางอาญามี 2 ประเภท

  • ความผิดในตัวเอง คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • ความผิดเพราะกฎหมายห้าม คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค
  • กฏหมายเกี่ยวกับบุคคล คือ สิ่งที่วางระเบียบให้บุคคลสามารถกระทำได้ตามสิทธิหน้าที่โดยที่ไม่ฝ่าฝืนตามกฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 

  • บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด  ส่วนประกอบของสภาพบุคคล  
  1. ชื่อตัว – ชื่อสกุล  
  2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ  
  3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล  
  4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า  
  • นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ  เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น
    • กฏหมายนิติกรรม คือ สิ่งที่แสดงเจตนารมระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย
      • นิติกรรมที่เป็น “โมฆะ” คือ นิติกรรมที่ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ถือเป็นนิติกรรมที่เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น เสมือนไม่เคยเกิดนิติกรรมนั้นขึ้นเลย 
      • นิติกรรมที่เป็น “โมฆียะ” คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ มีผลบังคับทางกฏหมาย แต่จะกลายเป็นโมฆะ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียมีการบอกล้างทางกฏหมาย
  • กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
    • การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง  
    • การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต

ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น  

  • สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส  
  • สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส 
  • การสิ้นสุดการสมรส  
    • ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ  
    • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม  
    • การหย่า  
    • กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
      • สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
      • เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
      • หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
    • กฎหมายเลือกตั้ง คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม
  • กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์  
      • เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน  
      • เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.  
      • เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
  • กฎหมายการจราจรทางบก คือ กฎหมายการจราจรทางบกกฎหมายที่มีหลักการและวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้ถนนหรือทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจ
    • สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร
    • สภาพรถและแผ่นป้ายทะเบียนรถ
    • ใบอนุญาตขับรถ
    • ข้อปฏิบัติที่ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม
      • ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารรถยนต์ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย
      • ผู้ขับขี่และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวม “หมวกนิรภัย”
      • ห้ามมิให้เสพยาบ้า (แอมเฟตามีน) ขณะขับรถ
      • ห้ามมิให้แข่งรถในทางหรือถนน

การศึกษาข้อมูลกฏหมายพื้นฐานในชีวิตประจำวันเพียงเล็กน้อยก็สามารถช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไม่ประมาท ทั้งในเรื่องของการทำสัญญา การไม่ทำผิดกฏหมาย และรู้เท่าทันการโดนเอาเปรียบจากผู้อื่น หากมีข้อสงสัยหรือหรือการดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

เครดิต: https://dla.wu.ac.th/th/archives/3782

https://dla.wu.ac.th/th/archives/3547

http://www.policetraining2.com/attachments/files/academic2.pdf

https://dparktraffic.com/traffic/กฏหมายจราจรทางบก/

https://dla.wu.ac.th/th/archives/3522#:~:text=กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล,ตาม%20คำสั่งของศาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *