กฎหมายชวนรู้! วิธีคำนวณภาษี

ต้นปีแบบนี้…ยื่นภาษีกันหรือยัง!? สำหรับน้อง ๆ ที่เพิ่งเรียนจบหรือเพิ่งมีรายได้ก็อาจจะยังงง ๆ กับขั้นตอนการยื่นภาษี การหารายการลดหย่อนภาษีประเภทต่าง ๆ แม้กระทั่งวิธีการคำนวณภาษีของตัวเองเพื่อให้รู้ตัวเลขจำนวนภาษีว่าต้องชำระเพิ่มเติมหรือได้ภาษีคืน

 

คำนวณรายได้ของตัวเอง

นำรายได้ทั้งหมดของตัวเองตลอดทั้งปีมาบวกกันรวมกันเพื่อให้รู้ว่ารายได้รวมทั้งหมดมีมูลค่าเท่าไหร่ 

 

รายการลดหย่อนภาษี

1. ส่วนตัวและครอบครัว

  • ส่วนตัว 60,000 บาท
  • คู่สมรส 60,000 บาท
  • บุตร คนละ 30,000 บาท
  • คนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 คนละ 60,000 บาท
  • ค่าฝากครรภ์ และคลอดบุตร 60,000 บาท
  • ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท
  • ค่าอุปการะผู้พิการ/ทุพพลภาพ 60,000 บาท

 

2. ประกันและการลงทุน

  • ประกันสังคม 9,000 บาท
  • ประกันสุขภาพบิดามารดา ประกันสุขภาพบิดามารดา 15,000 บาท

——————————-

  • ประกันชีวิต 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพตัวเอง 25,000  บาท

**รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท**

——————————-

  • ประกันชีวิตบำนาญ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/สงเคราะห์ครูฯ / กบข.* 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • *กรณี กบข.ได้สูงสุด 30% ของเงินเดือน และเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 30% ของเงินได้ ไม่เกิน  500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ 30,000 บาท

**รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท**

 

3. กระตุ้นเศรษฐกิจ

  • ดอกเบี้ยบ้าน 100,000 บาท
  • เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม 100,000 บาท
  • โครงการ E-easy (1 ม.ค.-15 ก.พ. 66) สูงสุด 50,000 บาท

 

4. บริจาค

  • บริจาคพรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท
  • บริจาคเพื่อการศึกษา กีฬาสังคมต่าง ๆ และโรงพยาบาลรัฐ 2 เท่าของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้
  • บริจาคอื่น ๆ มูลนิธิ และองค์กรสาธารณกุศลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้

 

หลักการคำนวณภาษี

จำนวนรายได้ทั้งหมดมารวมกัน หักลบรายการค่าใช้จ่าย และรายการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ เพื่อหา “เงินสุทธิ” ตามหลักการคำนวณ

 

“เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน”

 

ก่อนนำมาคำนวณภาษีตามสูตรดังนี้

 

“ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี”

 

นำจำนวนเงินสุทธิมาเช็กฐานภาษีของบุคคลธรรมดาตามอัตราที่กรมสรรพกรกำหนดเพื่อหาค่าภาษีที่จะต้องยื่นเพื่อชำระในแต่ละปี ดังนี้

  • ไม่เกิน 150,000 บาท : ไม่ต้องเสียภาษี
  • ตั้งแต่ 150,001 บาท – 300,000 บาท : เสียค่าภาษี 5%
  • ตั้งแต่ 300,001 บาท – 500,000 บาท : เสียค่าภาษี 10%
  • ตั้งแต่ 500,001 บาท – 750,000 บาท : เสียค่าภาษี 15%
  • ตั้งแต่ 750,001 บาท – 1,000,000 บาท : เสียค่าภาษี 20%
  • ตั้งแต่ 1,000,001 บาท – 2,000,000 บาท : เสียค่าภาษี 25%
  • ตั้งแต่ 2,000,001 บาท – 5,000,000 บาท : เสียค่าภาษี 30%
  • ตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป : เสียค่าภาษี 35%

 

แม้จะดูว้าวุ่นไปสักนิดกับการคำนวณภาษีเพื่อยื่นภาษีของตัวเองในทุก ๆ ปี แต่ผู้มีรายได้ทุกคนก็ควรยื่นภาษีเป็นประจำทุกปีเพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง และการไม่ยื่นภาษีถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายข้อหนึ่งอีกด้วย 

ติดตามข่าวสารความรู้หรือปรึกษาเรื่องกฎหมาย Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *