กฎหมายชวนรู้! 5P กฎหมายที่ Startup ยุค 5G ต้องรู้จัก

การเริ่มต้นสร้างธุรกิจใหม่ ๆ หรือการเป็น Startup นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปสำหรับทุกคน แต่ Startup ที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องมีความเข้าใจในหลากหลายองค์ประกอบในการดำเนินงานธุรกิจ โดยเฉพาะรู้และเข้าใจด้านกฎหมายที่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของธุรกิจ 

กฎหมาย 5P นั้นเป็นพื้นฐานที่ผู้ประกอบการหรือ Startup ควรทำความรู้จักและเข้าใจหลักการของตัวกฎหมาย อันได้แก่ P-Presence / P-Partner / P-Product / P-People  และ P-Public

1. P-Presence กฎหมายการตั้งและบริหารบริษัท 

กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งบริษัท และการจัดทำเอกสารบริษัทให้ถูกต้องครบถ้วน

  • ผู้ถือหุ้น และกรรมการในการตั้งและดำเนินบริษัทในปัจจุบัน ต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของบริษัท และผู้ถือหุ้นจะตกลงแต่งตั้ง “กรรมการ” เป็นตัวแทนของบริษัทในการจัดการทำสัญญาต่าง ๆ ในกรณีของผู้ถือหุ้นต่างประเทศ บริษัทต้องตรวจสอบความจำเป็นในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจคนต่างด้าว (FBL) 
  • ทุนจดทะเบียนและหุ้น ต้องมีการกำหนดทุนจดทะเบียน ซึ่งทุนจดทะเบียนขั้นต่ำอาจขึ้นกับ

          (1) ประเภทธุรกิจ 

          (2) การถือหุ้นโดยต่างชาติหรือการว่าจ้างแรงงานต่างชาติ หรือ 

          (3) ความน่าเชื่อถือของบริษัทเพื่อแสดงทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัท

  • วัตถุประสงค์บริษัท ต้องกำหนดขอบเขตวัตถุประสงค์และประเภทธุรกิจให้ชัดเจน และครอบคลุมทุกการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้บริษัทมีอำนาจดำเนินการ
  • เอกสารบริษัท ต้องเก็บรักษาไว้ภายในบริษัทให้ครบถ้วน โดยเฉพาะ

          (1) เอกสารที่บริษัทต้องจัดทำยืนยันความเป็นผู้ถือหุ้น ได้แก่ ใบหุ้นที่ต้องออกให้แก่ผู้ถือหุ้นแต่ละคน และสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นที่ต้องบันทึกทุกการเข้าหรือออกจากการเป็นผู้ถือหุ้น

          (2) เอกสารบันทึกการประชุมผู้ถือหุ้นและกรรมการ เพื่อบันทึกการตัดสินใจต่างๆ ของบริษัท และบางการตัดสินใจของบริษัทอาจต้องนำไปจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดด้วยเช่นกัน

 

2. P-Partner กฎหมายผู้ถือหุ้น – ผู้ลงทุน

กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องการกำหนดสิทธิ-หน้าที่ และความคาดหวังระหว่างผู้ถือหุ้นกับผู้ลงทุน

  • สิทธิผู้ถือหุ้น ตามกฎหมาย ผู้ถือหุ้นสามารถ 

         (1) ออกเสียง

         (2) ได้ผลตอบแทน 

         (3) ตรวจสอบการทำงานได้ 

และอาจมีการกำหนดสิทธิเพิ่มเติมได้ภายใต้ “สัญญาผู้ถือหุ้น”

  • การออกเสียง 
  • กรณีทั่วไปต้องใช้คะแนนเสียงมากกว่า 50% 
  • หากเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับบริษัทต้องใช้คะแนนเสียงมากกว่า 75%
  • ประเภทหุ้นตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น

          (1) หุ้นสามัญ เป็นหุ้นที่ไม่ได้มีการ กำหนดสิทธิใดพิเศษไว้ 

          (2) หุ้นบุริมสิทธิ์ที่อาจมีการกำหนดสิทธิใด เป็นการเฉพาะไว้ ไม่ว่าจะดีกว่าหรือแย่กว่าหุ้นสามัญ โดยต้องมีการจดทะเบียน สิทธิที่แตกต่างดังกล่าวไว้ใน ข้อบังคับของบริษัท

  • สัญญาผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นทั้งหมดควรตกลงกันชัดเจนถึงเงื่อนไขและการดำเนินการที่จะเกิดขึ้นในกรณี best case scenario (IPO / Exit) หรือ worst case scenario 
  • การระดมทุนโดยผู้ลงทุน โดยหลักบริษัทจำกัดไม่สามารถระดมทุนจากบุคคลเป็นการทั่วไป ซึ่งจะต่างจากการเสนอขายหุ้นของบริษัทมหาบชน แต่โดยหลักการระดมทุนเข้าบริษัทอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท 
  1. การระดมทุนด้วยหุ้น (Equity) ซึ่งผู้ลงทุนจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของ
  2. การระดมทุนด้วยหนี้ (Debt) ซึ่งโดยหลักด้วยการกู้ยืม แต่หากบริษัทจะออกหุ้นกู้ต้องมีกระบวนการขออนุญาตหรือต้องดำเนินตามกลไกที่กำหนดไว้โดยสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ลงทุนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ต้องได้ดอกเบี้ยและต้องได้รับเงินคืน
  3. การระดมทุนด้วยการออก Token ซึ่งผู้ถือโทเคนดิจิทัลจะมีสิทธิตามที่บริษัทกำหนดไว้ใน Whitepaper แต่การดำเนินการออกโทเคนดิจิทัลต้องทำตามกลไกของ สำนักงาน ก.ล.ต.

นอกจากนี้อาจมีบางส่วนที่เป็นการระดมทุนแบบ Hybrid เช่น Convertible Debt (ซึ่งให้สิทธิเจ้าหนี้มาเป็นผู้ถือหุ้น)

  1. P-Product กฎหมายการพัฒนาและขายผลิตภัณฑ์

กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าและบริการที่ต้องพิจารณาแยกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ

  • Compliance การตรวจสอบความถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ในการพัฒนาและขายสินค้าหรือบริการของบริษัท

          (1) ตรวจสอบการขอใบอนุญาตที่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงค่าปรับหรือการลงโทษจากการดำเนินธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต

          (2) ตรวจสอบความรับผิดที่อาจขึ้นจากการออกผลิตภัณฑ์ ภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายข้อสัญญาไม่เป็นธรรม

  • Protection สินค้าและบริการของบริษัทย่อมมีทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซึ่งบริษัทต้องเข้าใจประเภทและกระบวนการในการปกป้องทรัพย์สิน ทางปัญญาให้ถูกต้องตามประเภท โดยทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย แบ่งเป็น 

         (1) ลิขสิทธิ์ – ได้รับสิทธิโดยไม่ต้องจดทะเบียน 

         (2) สิทธิบัตร – ต้องจดทะเบียน

         (3) เครื่องหมายการค้า – จดหรือไม่จดทะเบียนก็ได้แต่ได้รับการคุ้มครองที่แตกต่างกัน 

         (4) ความลับทางการค้า – ไม่ต้องจดทะเบียนแต่ต้องมีมาตรการคุ้มครอง

การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการสร้างมูลค่าให้แก่ บริษัท และสามารถใช้ในการวางกลยุทธ์การทำการตลาดได้อีกด้วย

  • Commercialize การขายสินค้าและบริการ ควรจัดทำสัญญาในการขายสินค้าหรือบริการเพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิ-หน้าที่ระหว่างบริษัทและลูกค้า เพื่อกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบที่บริษัทมีต่อลูกค้า หนังสือสัญญาสามารถทำได้ทั้งรูปแบบเอกสารหรืออิเล็กทรอนิกส์ตามแต่สะดวก โดยทั้งบริษัทและลูกคค้าจะต้องลงนามเพื่อยอมรับข้อตกลงดังกล่าวให้เรียบร้อ ซึ่งสัญญาบางประเภท เช่น จ้างทำของ กู้ยืม ค้ำประกัน เป็นต้น นั้งจะต้องติดอากรแสตมป์เพื่อให้ใช้เป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ในกรณีเกิด worst case scenario

 

4. P-People กฎหมายบริหารจัดการบุคลากร

กฎหมายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานในการทำงาน

  • การจ้างแรงงานมีกฎหมายคุ้มครองเฉพาะ 
    • กำหนดเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ ได้แก่ พรบ. คุ้มครองแรงงาน ซึ่งสัญญาจ้างแรงงานต้องตกลงให้ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด

 

5. P-Public กฎหมายที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตาม

  • กฎหมายภาษีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเสียค่าปรับผิดนัดชำระค่าภาษี อาทิเช่น
    • ภาษีนิติบุคคล 
    • ภาษีบุคคลธรรมดา 
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม 
    • ภาษีธุรกิจเฉพาะ 
    • ภาษีทรัพย์สิน 
  • PDPA พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคคล ซึ่งกฎหมายไม่ได้ห้ามการใช้ข้อมูล แต่หากจะใช้ต้องปฏิบัติตามหลักการ 4 ข้อ 

         (1) การประเมินและอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูล ส่วนบุคคล (Necessity) 

         (2) ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ เกี่ยวข้องทราบและบางกรณีอาจต้องมีการขอความยินยอม (No Surprise) 

         (3) ดำเนินมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกเข้าถึง โดยไม่ได้รับอนุญาต และดำเนินการแจ้งเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจ เกิดขึ้น (Keep it Safe)

         (4) เคารพสิทธิที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจมีใน ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง (Respect the Rights)

 

หากผู้ประกอบการหรือ Startup ท่านใดกำลังมองหาผู้ช่วยในการดำเนินการทางกฎหมาย การยื่นขออนุญาต และเอกสารต่าง ๆ หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *