กฎหมายชวนรู้! เตรียมตัวจดทะเบียนการค้า

ในยุคที่ร้านค้าออฟไลน์และออนไลน์เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด และมีการฉ้อโกงจากมิจฉาชีพมากมายทำให้ลูกค้าหลายคนหวาดกลัวการซื้อของจากร้านค้าบางประเภท ซึ่งการจดทะเบียนการค้าจะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้านของเราได้มากยิ่งขึ้น

 

5 ประเภทรูปแบบธุรกิจที่มีสิทธิ์จดทะเบียนการค้าพาณิชย์

  1. บุคคลธรรมดา หรือกิจการที่มีเจ้าของคนเดียว
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  3. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
  4. บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
  5. นิติบุคคลต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาภายในประเทศไทย

 

ร้านค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนการค้าหรือไม่?

แม้เป็นร้านค้าออนไลน์ก็ควรจดทะเบียนการค้าฯ โดยกรมธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์นั้นได้แบ่งการจดทะเบียนพาณิชย์ของร้านค้าออนไลน์ไว้ 2 ประเภท

  • ร้านค้าออนไลน์ที่ไม่ได้ชำระเงินบนแพลตฟอร์ม สามารถจดทะเบียนพาณิชย์แบบธรรมดา และยื่นภาษีตามปกติ
  • ร้านค้าบนเว็บไซต์ที่มีระบบชำระเงินบนแพลตฟอร์ม ต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์พร้อมขอเครื่องหมาย DBD Registered เพิ่มเติมด้วย

 

ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้าพาณิชย์

1. เตรียมเอกสาร

  • คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) สามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • หนังสือชี้แจง (ในกรณีที่เปิดธุรกิจมานานแล้ว และไม่ได้ยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วันหลังจากเริ่มเปิดธุรกิจ)

2. ตรวจสอบสถานที่ขอจดทะเบียนการค้า

ผู้ประกอบการที่มีธุรกิจตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ;

  • สำนักงานเขต 50 เขต โดยต้องยื่นจะทะเบียนการค้าในเขตธุรกิจที่เราตั้งอยู่เท่านั้น 
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 
  • สำนักการคลัง 
  • ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

ผู้ประกอบการที่มีธุรกิจตั้งอยู่ต่างจังหวัด

  • สามารถยื่นจดทะเบียนการค้าได้ที่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตที่ตั้งตั้งธุรกิจอยู่

3. ชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ 

  • จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
  • จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
  • จดทะเบียนยกเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
  • ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
  • ขอให้เจ้าหน้าที่คัดลอกสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (ผู้ประกอบกิจการค้า) ฉบับละ 30 บาท

4. ข้อกำหนดหน้าที่สำหรับผู้ประกอบการ

  • จดทะเบียนการค้าภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจ เปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน หรือยกเลิกการประกอบธุรกิจ
  • แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบแทนทะเบียนพาณิชย์ไว้ภายในสำนักงาน อย่างเปิดเผยและเห็นได้ชัดเจน
  • ต้องจัดให้มีป้ายชื่อทั้งหน้าสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาอื่นๆ ซึ่งจะต้องทำการจัดตั้งป้ายภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ โดยจะต้องเขียนเป็นอักษรไทยที่ชัดเจน อ่านง่ายและเห็นได้ชัด ให้ตรงกับชื่อที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้ หากเป็นป้ายสำหรับสำนักงานสาขา จะต้องมีคำว่า “สาขา” กำกับไว้ด้วย
  • ในกรณีที่ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายหรือเกิดการชำรุด จะต้องยื่นคำขอใบแทนทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่สูญหายหรือชำรุด
  • ตรวจสอบสำนักงาน ในกรณีที่ต้องตรวจสอบสำนักงาน เจ้าของธุรกิจจะต้องยินยอมและอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียน พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปตรวจสอบภายในสำนักงาน

 

หากต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจของตัวเอง ผู้ประกอบการควรดำเนินการรจดทะเบียนการค้า ฯให้เรียบร้อย เพื่อจะได้เป็นผู้ประกอบการอย่างถูกกฎหมายและมีความน่าเชื่อถือ หากต้องการจัดตั้งบริษัทหรือจดทะเบียนต่าง ๆ ควรติดต่อกับทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจเพื่อให้คำปรึกษาและข้อมูลที่เป็นปัจจัยในการตั้งบริษัทฯ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *