กฎหมายชวนรู้! ติดตั้งโซลลาเซลล์ต้องขออนุญาตด้วยนะ

อยากประหยัดค่าไฟด้วยการติดตั้งแผงโซลลาร์เซลล์ที่บ้าน แต่ก่อนจะลงมือทำเจ้าของบ้านทุกท่านโปรดทราบว่าการติดตั้งแผงโซลลาร์เซลล์นั้นจะต้องดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องซะก่อน อย่าเพิ่งติดตั้งโดยพลการอาจจะมีปัญหาตามมาในอนาคตกันนะ

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มี 3 แบบ
1. แบบอ๊อฟกริด หรือ สแตนอโลน
: ไม่เชื่อมต่อกับระบบไฟของการไฟฟ้า จึงไม่ต้องขออนุญาตในการติดตั้งกับการไฟฟ้า แต่หากแผงโซลลาร์เซลล์มีขนาดใหญ่มากกว่า 200 kW. อาจจะต้องดำเนินการขออนุญาตจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ก่อนทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

2. แบบออนกริด
: แผงโซลลาร์เซลล์ที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า อีกทั้งยังเป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่นิยมติดตั้งที่บ้านกันมากที่สุด ซึ่งต้องดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ ก่อนดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

3. แบบไฮบริด
: สำหรับแผงโซลลาร์เซลล์แบบไฮบริดอาจจะยังไม่ได้มีข้อบังคับออกมาอย่างชัดเจนในเรื่องของการขออนุญาต แต่ควรดำเนินการขออนุญาตเอาไว้ก่อนเสมอเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการขออนุญาตหลังจากติดตั้งแผงโซลลาร์เซลล์เสร็จสมบูรร์แล้ว

 

รายชื่อหน่วยงานราชการเพื่อดำเนินการขออนุญาติติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้าน

  • ขออนุญาตปรับปรุงอาคารเพื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์กับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. หรือเทศบาล หรือสำนักงานเขต: เอกสารใบอนุญาต อ.1
    • สำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคาขนาดพื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 ก.ก.ต่อตารางเมตร
  • ยื่นขออนุญาตทางออนไลน์ ที่เว็บwww.erc.or.th (กกพ. : คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน)
    • สำหรับบ้านพักอาศัยติดตั้งขนาดไม่เกิน 10 kW.  ให้ติดต่อที่ สำนักงาน กกพ. ประจำพื้นที่
  • ยื่นขออนุญาตขนานไฟจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
    • แนบ Single Line Diagram โดยมีภาคีวิศวกรไฟฟ้าเซ็นต์รับรอง

 

เจ้าของบ้านท่านใดที่กำลังชั่งใจจะติดแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านเพื่อประหยัดค่าไฟในอนาคต อาจจะต้องพิจารณาการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั้ง 3 ระบบก่อนตัดสินใจ เนื่องจากการดำเนินการขออนุญาตนั้นแตกต่างกัน การติดตั้งแผงโซลลาร์เซลล์นั้นค่อนข้างมีความยุ่งยากและต้องติดต่อกับหลายหน่วยงานในการดำเนินการ หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.solarhub.co.th/document/mea-grid-connect-rule-2559

https://www.solarhub.co.th/document/pea-grid-connect-rule-2559

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *