กฎหมายชวนรู้! ข้อบังคับทางเชื่อมอาคาร

การสร้างทางเชื่อมระหว่างสองอาคารก่อนหน้านี้ยังมีกฏหมายและข้อบังคับที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่ได้ระบุไว้ในกฏหมายควบคุมอาคาร แต่ปัจจุบันมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารในกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

 

ในปัจจุบันอาคารต่าง ๆ มักได้รับการรีโนเวทเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน และเพื่อความสวยงามตามยุคสมัย รวมทั้งทางเชื่อมอาคารเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เจ้าของอาคารมักต้องการสร้างเชื่อมต่อกับตึกใกล้เคียงเพื่อความสะดวกสบาย กฎหมายจึงมีการควบคุมมาตรฐานการสร้างทางเชื่อมอาคารเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานและผู้คนที่สัญจรบนพื้นถนนด้านล่างดังนี้

  • มีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 9 เมตร และมีระยะห่างในชั้นเดียวกันไม่น้อยกว่า 30 เมตร
  • มีความสูงจากระดับพื้นดินหรือถนนใต้ทางเดินเชื่อมถึงส่วนที่ต่ำสุดของทางเดินเชื่อมไม่น้อยกว่า 5 เมตร
  • บริเวณทางเข้าออกระหว่างอาคารกับทางเดินเชื่อมต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง และกรณีที่มีประตูต้องสามารถเปิดได้ตลอดเวลา
  • ทางเดินเชื่อมมีหลังคาคลุม ต้องมีผนังปิดตลอดแนวโดยไม่สามารถระบายอากาศได้
  • ต้องมีประตูที่ทำด้วยวัสดุทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ที่สามารถปิดกั้นเปลวไฟ หรือควันไฟมิให้เข้าไปในบริเวณทางเดินเชื่อมนั้นได้
  • ในกรณีหากเกิดเพลิงไหม้ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างโครงสร้างหลักของทางเดินเชื่อมอาคารต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

 

ความสะดวกสบายของการใช้งานทางเชื่อมระหว่างอาคารนั้นควรมาพร้อมความปลอดภัย ดังนั้นต้องต้องออกแบบและสร้างตามกฎหมายอาคารแบบถูกต้องทุกอย่างเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย หากต้องการความรู้หรือปรึกษาเรื่องกฎหมาย Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *