กฎหมายชวนรู้! การขอติดตั้งโซลาร์เซลล์

ค่าไฟที่แพงขึ้นทำให้ต้องหาวิธีประหยัดค่าไฟให้มากที่สุด หลาย ๆ บ้านจึงนิยิมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้แสงแดดของประเทศไทยให้เป็นประโยชน์ แต่ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั้นต้องขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีขั้นตอนดังนี้

 

1. การยื่นขออนุญาตเพื่อติดตั้งโซล่าเซลล์

ขออนุญาตเพื่อดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเทศบาล/ อบต. ในเขตพื้นที่ เพื่อทำการดัดแปลงโครงสร้างบนหลังคาก่อนทำการติดตั้ง

 

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์และรายละเอียดของการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน (โยธา)

 

โดยหน่วยงานจะพิจารณาจากการผลิตกระแสไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง โดยแยกเป็น 3 เงื่อนไขดังนี้

 

  • เงื่อนไขที่ 1 : แผงโซล่าเซลล์ (PV) < 200kWp (<200,000 Watt)
  • เงื่อนไขที่ 2 : แผงโซล่าเซลล์ (PV) >= 200kWp แต่ไม่เกิน 1,000kWp (200,001 Watt – 1,000,000 Watt)
  • เงื่อนไขที่ 3 : แผงโซล่าร์เซลล์ (PV) >=1,000kWp (1,000,000 Watt) ขึ้นไป

 

ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย (ประเภทที่1) ต้องมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) เท่านั้น

 

2. การลงทะเบียน

เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงาน กกพ. หรือบนเว็ปไซต์ของสำนักงาน กกพ. ได้ที่ https://www.cleanenergyforlife.net/ 

 

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
  • ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซล่าเซลล์และอินเวอร์เตอร์
  • แบบ Single Line Diagram ทางการไฟฟ้า พร้อมวิศวกรไฟฟ้ากำลังลงนามรับรอง
  • แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้งและรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมวิศวกรโยธาลงนามรับรอง
  • ติดต่อ การไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ

 

3. แจ้ง กฟน. หรือ กฟภ. (PEA)

แจ้งกฟน. หรือ กฟภ. เพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบแล้วชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อให้สำนักงาน กกพ. ออกหนังสือแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1
  • เอกสารแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา
  • บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า
  • หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ (โดยมิเตอร์ 1 เฟส จะสามารถติดตั้งได้สูงสุด 5kw. และมิเตอร์ 3 เฟส จะขอติดตั้งได้สูงสุด 10kw.
  • เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของ Inverter ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า หรือตามมาตรฐานของการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น
  • แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร พร้อมแนบสำเนาใบประกอบวิชาชี (ใบกว.)
  • ข้อมูลของแผนที่ตั้ง รูปถ่ายหน้าบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซล่าครบทุกแผง

 

4. ยื่นสำเนาหนังสือรับ

เมื่อดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ จนได้รับการอนุมัติแล้ว การไฟฟ้าก็จะทำการเปลี่ยนประเภทมิเตอร์ไฟฟ้าให้เป็นมิเตอร์สำหรับโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ และทำการเชื่อมต่อ COD กับระบบของการไฟฟ้า หลังจากนั้นก็จะสามารถเริ่มใช้งานโซล่าเซลล์ระบบออนกริดได้ทันที

 

การติดตั้งแผงโซลลาร์เซลล์นั้นค่อนข้างมีความยุ่งยากหลายขั้นตอนและต้องติดต่อกับหลายหน่วยงานในการดำเนินการ หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.energy-conservationtech.com/content/25523/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88-#:~:text=%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C%20%E0%B8%A5%E0%B8%87,%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%20%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%20%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%9E.%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *