ความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร

ความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร

ทุกคนน่าจะคุ้นเคยคำว่า “ลิขสิทธิ์” และ “สิทธิบัตร” ที่ได้ยินกันบ่อย ๆ แต่อาจจะยังไม่แน่ใจในความหมายที่แท้จริง โดยเฉพาะหากว่ามีผลงานที่ต้องการจดทะเบียนแต่ไม่ทราบว่าจดทะเบียนแบบไหนที่จะเหมาะสมกับผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น งั้นลองมาพิจารณาจากหลักการง่าย ๆ กัน

ลิขสิทธิ์

คือ กฎหมายมุ่งคุ้มครองและส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ “สิทธิแต่พียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด”

  1. งานวรรณกรรม (รวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)

    2. งานการแสดง

    3. งานวิจิตรศิลป์ ศิลปกรรม ได้แก่

  • ภาพวาด
  • ประติมากรรม
  • งานพิมพ์
  • งานตกแต่งสถาปัตย์
  • ภาพถ่าย
  • ภาพวาดเขียน แผนที่ ภาพร่าง
  • งานประยุกตศิลป์

    4. งานดนตรี

    5. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี)

    6. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)

    7. งานภาพยนตร์

    8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ

    9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

สิทธิบัตร

คือ กฎหมายให้ความคุ้มครองและสนับสนุนผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบ โดยมีหนังสือสำคัญที่รัฐฯ ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะต้องมีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสามารถผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรมตามลักษณะที่กฎหมายกำหนด เช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบสูตรสารเคมี การออกแบบวิธีการผลิต การเก็บรักษาที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นต้น

หลักพิจารณาง่าย ๆ น่าจะช่วยเพิ่มความเข้าใจว่าลิขสิทธิ์กับสิทธิบัตรนั้นมีความแตกต่างกัน โดยลิขสิทธิ์นั้นเน้นคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์และผลงานเชิงศิลปะต่าง ๆ สำหรับสิทธิบัตรคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ถือว่าเป็นเกร็ดความรู้กฎหมายเล็ก ๆ ที่อาจจะมีประโยชน์ในอนาคต หากต้องการปรึกษาเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย และเกร็ดความรู้เรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

เครดิต: https://www.ipthailand.go.th/images/633/book/basic_IP.pdf 

https://www.ip-thailand.com/ลิขสิทธิ์/ความแตกต่างระหว่าง-เครื/#:~text=สิทธิบัตร%20กฏหมายคุ้มครองเพื่อ%”มุ่ง,ที่สร้างสรรค์มาแล้วก็ได้”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *