กฏหมายชวนรู้ ! ผิดนัดสัญญาซื้อขาย แต่ไม่ได้ทำหนังสือสัญญา สามารถเอาผิดได้หรือไม่?

การซื้อขายนั้นเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของทุกคน ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หลักหน่วยไปจนถึงหลักหลายหน่อย แต่สำหรับการทำธุรกิจที่มีการซื้อขายกันนั้นควรมีการทำหนังสือสัญญาอย่างเป็นทางการ เพื่อการแจกแจงรายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทำธุรกิจให้ทุกฝ่ายรับรู้ ซึ่งควรมีการลงชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนนั่นเอง

 

สัญญาซื้อขาย

คือ สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อและผู้ตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย การโอนกรรมสิทธิ์หมายถึงการโอนความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน ที่ซื้อขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อผู้ซื้อเมื่อได้เป็นเจ้าของก็สามารถที่จะใช้ ได้รับประโยชน์หรือจะขายต่อไปอย่างไรก็ได้

 

หากทำการซื้อขายโดยไม่มีหนังสือสัญญาระบุชัดเจนนั้น หากเกิดการฉ้อโกงหรือผิดสัญญาเกิดขึ้นอาจจะทำให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ โดยมีกฏหมายมาตรา 456 ได้บัญญัติไว้ ดังนี้

 

มาตรา 456  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”

 

ในกรณีที่ตกลงทำการซื้อขายระหว่างกันแล้วโดนไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขาย 

  • กรณีที่ 1 – นาย A ได้มีการวางมัดจำกับนาย B ไว้ 50% แต่จู่ ๆ นาย A เปลี่ยนใจไม่อยากซื้อขายในส่วนที่เหลือแล้ว นาย B สามารถทำการฟ้องร้องนาย A ที่ผิดสัญญาได้ เพราะมี “หลักฐานสลิปหรือเอกสารการโอนเงิน” ในส่วนครึ่งแรกที่เกิดขึ้นไปแล้ว
  • กรณีที่ 2 – นาย A ทำการตกลงจะซื้อขายกับนาย B เอาไว้ แต่เกิดเปลี่ยนใจไม่ทำตามที่ตกลงไว้ โดยยังไม่มีการโอนเงินหรีอวางมัดจำใด ๆ เกิดขึ้น นาย B จะไม่สามารถฟ้องร้องนาย A ได้

 

การทำสัญญาในแต่ละประเภทนั้นมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป้นสัญญาซื้อขายเหมือนกันแต่หากสินค้าเป้นคนละประเภทก้อาจจะทำให้มีเงื่อนไขตามข้อกฎหมายบางข้อแตกต่างกัน การร่างหนังสือสัญญาจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจกรือทำกิจการใด ๆ ที่มี 2 ฝ่ายขึ้นไป เพื่อความรอบคอบในการดำเนินการซื้อขายหรือทำธุรกิจ

 

หากต้องการฟ้องร้องคู่กรณีที่ผิดสัญญา หรือต้องการร่างเอกสารสัญญาทางธุรกิจต่าง ๆ Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *