ใบอนุญาตทำงาน Work Permit คืออะไร?

    ใบอนุญาตทำงาน Work Permit หมายถึง  ชาวต่างชาติที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อประกอบธุรกิจ กิจการ หรือ ลูกจ้าง ทุกอาชีพนั้น จำเป็นต้องยื่นขอการเปลี่ยนประเภทการลงตราตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทย ว่าด้วย ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องยื่นขอการเปลี่ยนแปลงประเภทการลงตราเป็น Non-Immigrant Visa ”B” หรือวีซ่าประเภทธุรกิจ และเมื่อทำการเปลี่ยนลงตราเรียยร้อยแล้วนั้น จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงาน หรือ Work Permit มิฉะนั้นจะไม่สามารถทำงานในราชอาณาจักรไทยได้

  เมื่อชาวต่างชาติที่ดำเนินการขอวีซ่า Non-Immigrant Visa ”B” มาแล้วแต่ยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตทำงาน หรือ Work Permit ท่านสามารถยื่นขอเองได้ทีกรมจัดหางานกระทรวงแรงงานภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากที่ท่านได้เดินถึงประเทศไทยแล้ว ตามกฎหมายที่ให้พำนักอยู่ได้ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว 

  • คุณสมบัติของต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงาน
  1. คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (Non-Immigrant) โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน ( TOURIST/TRANSIT ) ซึ่งจะอนุญาตทำงานในครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงขอใหม่
  2. มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
  3. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟืองไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฎอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 
  4. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะ เวลา 1 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต   
  • เอกสารสำหรับยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน ( Work Permit )   มีดังต่อไปนี้
  1. แบบคำขอ ต.ม.1 และรูปถ่ายขนาด 3×4 เซนติเมตร (1 นิ้วครึ่ง) จำนวน 3 รูป ( ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ที่ไม่ใช่รูปจากคอมพิวเตอร์/  โพลารอยด์ )
  2.  หนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงความจำเป็นในการจ้างแรงงานต่างด้าว กรณีบริษัทผ่าน B.O.I หรือ กนอ ให้ทำหนังสือถึง   ผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงเหตุผลที่ไม่ยื่นใช้สิทธิ์ B.O.I หรือ กนอ. พร้อมสำเนาบัตรส่งเสริม 
  3.  หนังสือรับรองการจ้างงาน หรือ สัญญาจ้าง
  4.  สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน
  5. ใบรับรองแพทย์
  6. สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมฉบับจริง
  7. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในกรณีที่เป็นการประกอบวิชาชีพที่กฏหมายกำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
  8. หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง (กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าวใช้สำเนาใบอนุญาตทำงาน ) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  •  เอกสารประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง
  1. สถานที่ประกอบการเอกชน
    1.1 สำเนารับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไทย และสำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นใบสำเนาอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวออกตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 พร้อมหลักฐานการนำเงินต่างประเทศเข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทย
    1.2 สำเนาภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01 ที่ระบุประเภทกิจการ และ ภ.พ.09 หากมีการเปลี่ยนแปลง
    1.3 “กรณีนายจ้างเป็นคนต่างชาติ” ให้แนบสำเนาใบอนุญาติของนายจ้าง หากนายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทยและไม่มีใบอนุญาติทำงานต้องให้ Notary Public และสถานฑูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคนหนึ่งลงนามแทน
    1.4 กรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องอนุญาตตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน, หนังสืออนุญาติอนุญาติประกอบกิจการ, ใบอนุญาตจากองค์กรอาหารและยา, ใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นสถานที่จำหน่ายอาหาร ฯลฯ
    1.5 สำเนาหลักฐานการจ่างเงินประกันสังคม และสำเนาแสดงรายได้ที่เป็นปัจจุบัน ได้แก่ งบการเงิน (ปีล่าสุด) ภ.พ.30
  2. โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน
    2.1 สำเนาแต่งตั้งครู หรือผู้สอนปฏิบิติหน้าที่ พร้อมสัญญาจ้าง / มหาวิทยาลัยเอกชนให้แสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยระบุชื่อของคนต่างด้าว ตำแหน่ง และระยะเวลา
    2.2 ใบประกอบวิชาชีพครู (ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้นตำแหน่งผู้ฝึกสอน
    2.3 สำเนาใบอนุญาติให้จัดตั้งโรงเรียน, ใบอนุญาตใหห้เป็นครูใหญ่, ใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการ, ใบอนุญาตต่างๆ (ถ้ามี) / สำเนาหลักฐานการจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจของมหาวิทยาลัย
    2.4 เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา และเอกสารประกอบการเป็นครู (ถ้ามี)
  3. หน่วยงานราชการ
    3.1 หนังสือรับรองจากส่วนราชการ/รัฐวิสากิจ/องค์การมหาชน/เขตการศึกษา(กรณีครูโรงเรียนรัฐ) โดยระบุชื่อ ตำแหน่งและระยะเวลา
    3.2 กรณีครูในโรงเรียนรัฐบาลให้แสดงใบประกอบวิชาชีพครู (ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้นตำแหน่งผู้ฝึกสอน
  4. มลูนิธิ หรือสมาคม
    หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ, สมาคม, วัตถุประสงค์, พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ
  5. กิจการถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ
    5.1 หนังสือรับรองจากสำนักงานกับการพัฒนาท่องเที่ยว ใบอนุญาตเป็นผู้ประสานงาน พร้อมรายชื่อ ตำแหน่ง และเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
    5.2 สำเนารับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน)

หมายเหตุ  

  1. เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย ที่มีการรับ รองความถูกต้อง
  2. สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง ดังนี้
    • เอกสารของนายจ้าง ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อหรือประทับตราบริษัท (ถ้ามี) หรือผู้รับมอบอำนาจ
    • เอกสารของคนต่างด้าว ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ

การยื่นขอใบอนุญาตทำงานก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่ยากซะทีเดียว ปัจจัยที่ทำให้การดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนคือการเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อง่ายต่อการติดต่อ สำหรับท่านใดที่ต้องการปรึกษาปัญหาทางด้านกฏหมายสามารถสอบถามข้อมูลมาได้ที่ Line@bnlaw และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook balanceniti

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *