เงื่อนไขการทำสัญญาขายฝากมีอะไรบ้าง?

ยุคเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวจากวิกฤตต่าง ๆ สำหรับผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไปที่อาจจะต้องการเงินมาหมุนเวียน ข้อดีสำหรับผู้ที่มีทรัพย์สินเป็นที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์คือสามารถทำสัญญากู้เงินประเภทขายฝากได้นั่นเอง

 

“สัญญาขายฝาก” คือ สัญญากู้เงินที่ใช้หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ โดยลูกหนี้จะทำการขายทรัพย์สินหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้กับเจ้าหนี้ก่อนรับเงิน ซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นรวมทั้งที่ดินประเภทเกษตรกรรมหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย พระราชบัญญัติ คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562

 

เงื่อนไขสัญญาขายฝาก

1. การทำสัญญาขายฝาก

การทำสัญญาขายฝากต้องต้จดทะเบียนต่อหน้าเจ้าพนักงานที่กรมที่ดินเท่านั้น มิเช่นนั้นจะถือว่าสัญญาขายฝากที่ดินฉบับนั้นเป็นโมฆะ โดยต้องระบุรายละเอียดที่สำคัญลงในหนังสือสัญญาขายยฝาก ดังนี้

  • ระบุชื่อและที่อยู่คู่สัญญา
  • แจกแจงรายการและลักษณะแห่งทรัพย์สิน ที่ดินที่จะขายฝาก
  • แจกแจงราคาที่ขายฝาก
  • ระบุมีจำนวนสินไถ่
  • ระบุวันที่ขายฝากและวันที่ครบกำหนดไถ่

2. มีระยะเวลากำหนด 

สิ่งที่สัญญาขายฝากนั้นแตกต่างจากสัญญาจำนองนั้นคือลูกหนี้สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์คืนได้ อยู่ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกินระยะ 10 ปี

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนไถ่ถอนที่ดิน

  • เรียกเก็บประเภทไม่มีทุนทรัพย์ แปลงละ 50 บาท
  • อากรแสตมป์ใบรับ เรียกเก็บร้อยละ 50 สตางค์ คํานวณจากราคาทุนทรัพย์ในการจดทะเบียน

3. อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี

เจ้าหนี้สามารถกำหนด’ราคาสินไถ่’ไว้สูงกว่าราคาขายฝากได้ แต่คำนวณแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 15% ต่อปี โดยคำนวณตั้งแต่วันที่ขายฝากจนถึงวันที่ครบกำหนดเวลาไถ่

4. สิทธิการใช้ทรัพย์สินที่ขายฝาก

เจ้าหนี้มีสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ใด ๆ บนอสังหาริมทรัพย์ระหว่างที่เป็นหลักประกันขายฝากได้ทั้งอยู่อาศัยหรือประกอบเกษตรกรรม ตั้งแต่วันที่เริ่มสัญญาขายฝากไปจนถึงวันที่ครบกำหนดชำระสินไถ่

เอกสารสัญญาต่าง ๆ ต้องอ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะเมื่อเซ็นสัญญาไปแล้วจะถือว่ายินยอมรับทุกข้อตกลงที่ได้ระบุในสัญญานั้นโดยปริยาย หากต้องการทนายความเพื่อร่างสัญญาเงินกู้หรือตรวจสอบหนังสือสัญญาต่าง ๆ  รวมทั้งปรึกษาข้อกฎหมายหรือดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.dol.go.th/Documents/law/law6206.pdf

https://www.dol.go.th/registry/DocLib3/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81.pdf

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *