ลูกจ้างมีเฮ! กฎหมายแรงงานใหม่ ให้สิทธิปฏิเสธ การติดต่อนอกเวลางาน

โอทีไม่เคยมีแต่โอฟรีโดนประจำ! สำหรับชีวิตมนุษย์เงินเดือนน่าจะคุ้นเคยกับสถานการณ์นี้กันเป็นอย่างดี ซึ่งในทางกฎหมายแล้วนายจ้างมีสิทธิ์สั่งงานลูกน้องภายในเวลาที่ตกลงตามสัญญาเท่านั้น การทวงถามงานหรือให้ทำงานนอกเวลางานนั้นลูกจ้างสามารถเอาผิดกับนายจ้างได้ เพราะถือว่าละเมิดสิทธิในสัญญาจ้างนั่นเอง

 

ตามหลักกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น การที่ลูกน้องไม่ตอบไลน์นายจ้าง นอกเวลางาน ในวันหยุด หรือวันลา ไม่ถือเป็นความผิดที่จะนำมาประกอบการประเมินผลงานหรือนำมาเป็นเหตุผลที่ใช้ไล่พนักงานออกได้

 

  • กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 23 กำหนดว่าให้นายจ้างประกาศเวลาทำงาน โดยวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง การทำงานนอกเหนือหรือเกินจากเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมง จะถือว่าเป็นการทำงาน “ล่วงเวลา” และถ้าเป็นการทำงานล่วงเวลานายจ้างต้องจ่าย “ค่าล่วงเวลา” ถ้าล่วงเวลาวันธรรมดาจ่าย 1.5 เท่า ถ้าล่วงเวลาในวันหยุดจ่าย 3 เท่า 
  • กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 24 กำหนดว่าการทำงานล่วงเวลาจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วยเช่นกัน 

 

การสั่งงานผ่าน Social Media 

  • การสั่งงานผ่าน Line และ Social media อื่น ๆ ในเวลางาน เป็นสิ่งที่นายจ้างสามารถทำได้ เพราะยังอยู่ในช่วงเวลาทำงานตามที่ได้ตกลงกันไว้
  • การสั่งงานผ่าน Line และ Social media อื่น ๆ นอกเวลางานหรือในวันหยุดวันลา ที่ทำให้ลูกจ้างต้องทำงานนอกเวลางาน ลูกจ้างลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับเงิน OT หรือค่าล่วงเวลาตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานในมาตรา 61, 63 และ 62 กำหนดไว้
    • มาตรา 61  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
    • มาตรา 62  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามมาตรา 28, 29 หรือ 30 นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา ดังต่อไปนี้

(1) สำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(2) สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

  • มาตรา 63  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

 

ในฐานะลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธงานในช่วงนอกเวลางาน แต่เนื่องจากคนไทยมัก “ขี้เกรงใจ” จึงมักตอบตกลงทำในช่วงเวลาที่ควรจะพักผ่อน ทำให้ลูกจ้างหลายคนมีปัญหาด้านความเครียดและสุขภาพจิตตรามมา ดังนั้นนายจ้างควรเคารพสิทธิของลูกจ้างในวันหยุด หรือหากเป็นกรณีด่วนและได้รับการยินยอมจากลูกจ้างก็ถือว่าเป็นการยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: http://thanulaw.com/index.php/wagesandot

http://thanulaw.com/index.php/wagesandot

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *