ประเภทของสัญญาที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน

ในชีวิตประจำวันนั้นของทุกคนนั้นต้องเกี่ยวข้องกับกฏหมายอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะกฏหมายในเรื่องของ “นิติกรรม” และ “สัญญา” เพราะไม่ว่าจะเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์, การเซ็นสัญญาธุรกิจ หรือการลงทุนใด ๆ ก็จะต้องมีเรื่องของเอกสารสัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการลงนามรับรู้และยินยอมในเรื่องของข้อตกลงร่วมกัน

สัญญา คือ การทำนิติกรรมที่มีเจตนารมณ์ของบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยจะเป็นการตกลงกันด้วยวาจา ทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นหนังสือที่ลงนามจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการแสดงการรับรู้และยอมรับข้อตกลงร่วมกันทั้งหมด

สัญญาที่พบบ่อย

1. สัญญาซื้อขาย ตาม ปพพ. มาตรา 453 หมายถึง สัญญาที่บุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย อีกฝ่ายหนึ่งเรียก ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ขาย โดยแบ่งได้ 3 ประเภท

  • คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
  • สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
  • สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว

2. สัญญาเช่าทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 537  หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับผลประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น

3. ตาม ปพพ. มาตรา 572  หมายถึง สัญญาซึ่งเจ้าของทรัพย์สินเรียกว่า ผู้ให้เช่าซื้อ นำทรัพย์สินออกมาให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือให้ทรพย์สินนั้นตกเป้นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ โดยเงื่อนไขว่าผู้เช่าซื้อจ่ายเงินเท่านั้นเท่านี้

4. เป็นไปตามหลักสัญญาซื้อขายทั่วไป โดยทรัพย์สินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อ แต่ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้

5. สัญญาการยืม สัญญาที่บัญญัติในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มี 2 ประเภท

  • การยืมคงรูป ผู้ยืมสามารถใช้ทรัพย์สินได้เปล่า และจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใช้เสร็จ เช่น การยืมรถ เมื่อใช้รถเสร็จก็ทำการคืนรถคันเดิมให้แก่เจ้าของ เป็นต้น
  • การยืมสิ้นเปลือง ผู้ให้ยืมให้ยืมเป็นทรัพย์สินที่ใช้เปล่าแล้วหมดไป และผู้ยืมจะต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่ผู้ให้ยืม เช่น ญาญ่าให้ณเดชน์ยืมข้าวสาร 5 กิโลกรัม ณเดชน์จะต้องคืนข้าวสารที่ซื้อมาใหม่จำนวน 5 กิโลกรัมคืนให้แก่ญาญ่าในภายหลัง เป็นต้น

6. สัญญาค้ำประกัน หมายถึง สัญญาที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกัน สัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามสัญญา แบ่งเป็น 2 ประเภท

  • สัญญาค้ำประกันอย่างไม่จำกัดจำนวน ผู้ค้ำฯ ต้องชดใช้หนี้สินเท่ากับมูลค่าที่ลูกหนี้ได้ยืมไป
  • สัญญาค้ำประกันอย่างจำกัดความรับผิดชอบ ผู้ค้ำฯ ชดใช้หนี้สินไม่เกินกับมูลค่าที่ระบุไว้ในสัญญา

7. สัญญาการหย่า หมายถึง หนังสือยินยอมการสิ้นสุดการสมรส โดยมีการยินยอมยอมรับข้อตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย และมีพยานบุคคล 2 คน

8. พินัยกรรม หมายถึง หนังสือที่บุคคลใดถึงแก่ความตาย ได้แสดงเจตจำนงในการยกทรัพย์สินของผู้ตายให้ตกทอดไปยังทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายซึ่งเรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” รวมทั้งบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ทายาทเรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”

ก่อนลงนามในเอกสารสัญญาต่าง ๆ ต้องอ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เพราะเมื่อเซ็นสัญญาไปแล้วจะถือว่ายินยอมรับทุกข้อตกลงที่ได้ระบุในสัญญานั้นโดยปริยาย หากมีข้อสงสัยหรือหรือการดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

เครดิต: http://www.blog.rmutt.ac.th/?tag=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2

https://ms.udru.ac.th/FNresearch/assets/pdf/ch04.pdf

http://www.digitalschool.club/digitalschool/social2_1_1/m4_1/content/more1_7/page5.php

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *