ช่วงนี้เศรษกิจยังไม่ฟื้นตัวดีทำให้หลายคนต้องมีการกู้หนี้ยืมสิน ทั้งจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน บัตรเครดิต สินเชื่อต่าง ๆ หรือกู้เงินนอกระบบ ซึ่งการคิดอัตราดอกเบี้ยนั้นต้องเป็นไปตามกฏหมาย หากมีการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนดจะถือว่ามีความผิดทางอาญาอีกด้วย แล้วการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบไหนกันที่ถูกต้องตามกฏหมาย ?
และ อัตราดอกเบี้ยแบบไหนที่ผิดกฏหมาย ? บทความนี้มีคำตอบ
การกำหนดอัตราดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงินเป็นกรณีที่คู่สัญญาสามารถตกลงกันได้ว่าจะให้มีการคิดดอกเบี้ยกันหรือไม่
หากตกลงกันว่าไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลง คือไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่เมื่อไรก็ตาม
ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ลูกหนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตามมาตรา ๒๒๔
วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรณีที่คู่สัญญาตกลงกันให้คิดดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงิน
การกำหนดอัตราดอกเบี้ย สามารถแบ่ง ออกได้เป็น ๒ กรณี ดังนี้
๑) ดอกเบี้ยที่กำหนดโดยกฎหมาย (ถูกกฏหมาย)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีบทบัญญัติที่กำาหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งนำมาใช้ในเรื่องกู้ยืม ได้ ๒ มาตรา คือ
มาตรา ๗ และมาตรา ๒๒๔ โดยมาตรา ๗ บัญญัติว่า “ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย
ไว้โดยนิติกรรม หรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี” และมาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง
บัญญัติว่า “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ย
ได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น” การที่จะนำมาตรา ๗
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้จะต้องเป็นเรื่องที่คู่สัญญาตกลงกันว่าในสัญญากู้ยืมเงินจะต้องมี
การคิดดอกเบี้ยต่อกัน แต่ไม่ได้ก าหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้อย่างชัดแจ้ง กฎหมายจึงกำหนดให้เสียดอกเบี้ยให้แก่
เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี (ปัญญา ถนอมรอด, ๒๕๕๘, น.๕๔) ตัวอย่างเช่น สัญญากู้มีข้อความว่า ผู้กู้ยอมให้
ดอกเบี้ยตามกฎหมาย หรือยอมให้ดอกเบี้ยตามกฎหมายอย่างสูง หรือยอมเสียดอกเบี้ยทุกเดือน แต่ไม่ได้มีการ
กำหนดอัตราโดยชัดแจ้ง ซึ่งกรณีเหล่านี้ผู้ให้กู้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีตั้งแต่วันกู้ (คำพิพากษา
ฎีกาที่ ๔๙๗/๒๕๐๖, ๒๓๕/๒๕๐๗, ๑๐๕/๒๕๑๘ และ ๓๗๐๘/๒๕๒๘) และเมื่อต่อมาลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ลูกหนี้จะต้อง
เสียดอกเบี้ยอีกในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตามมาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น สัญญากู้ยืมเงินระบุว่าผู้กู้ยอมให้ ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ แต่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดย
ชัดแจ้งในสัญญา จึงต้องใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี บังคับตามมาตรา ๗ และยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตรา
ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ผิดนัดตามมาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่งได้อีก (ค าพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๘๒/๒๕๔๙)
๒) ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด (ผิดกฎหมาย)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ บัญญัติว่า “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ย เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ ๑๕ ต่อปี” เป็นกรณีที่กฎหมาย ได้กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้จะเรียกจากผู้กู้ได้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ และ เป็นช่องทางการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ชอบ อันทำให้ผู้กู้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น ผู้ให้กู้จึงไม่สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ให้สูงเกินกว่าร้อยละ ๑๕ ต่อปีได้ หากกำหนดไว้เกินกว่าร้อยละ ๑๕ ต่อปี เช่น ร้อยละ ๑๘ หรือร้อยละ ๒๐ ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับตามนั้น แต่จะสามารถบังคับกันได้เพียงร้อยละ ๑๕ เท่านั้น ผู้ให้กู้จึงยังคงมีสิทธิเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ เท่านั้น (สุธีร์ ศุภนิตย์ แก้ไขเพิ่มเติมโดย จักรพงษ์ เล็กสกุลไชย, ๒๕๕๘, น.๑๑๗) แต่เนื่องจากต่อมาได้มีพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช ๒๔๗๕ ออกมาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา ๓ ได้บัญญัติว่า “บุคคลใดให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมาย กำหนดไว้ มีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกิน ๑ ปีหรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ” และต่อมาได้มีพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ ขึ้นมาใช้บังคับแทนโดย กำหนดอัตราโทษให้สูงขึ้นเป็นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปีหรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น การที่บุคคลทั่วไปให้กู้ยืมโดยตกลงคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยไม่ชอบด้วย กฎหมายที่กำหนดว่าเป็นความผิดและมีโทษอาญา ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะไปทั้งหมด ไม่ใช่เป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ย ส่วนที่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี
ปัจจุบันประเทศไทยนั้นมีปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบอย่างมาก ลูกหนี้และประชาชนส่วนมากถูกเขูดรีดทรัพย์สินจากการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากไม่ทราบข้อมูลกฎหมายจึงถูกเอารัดเอาเปรียบ หากต้องการปรึกษาคดีความ ดำเนินการทางกฎหมาย หรือต้องการทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎหมาย ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/reform/reform51.pdf
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1763