ข้อควรรู้ก่อนการกู้ร่วมซื้อบ้าน

ข้อควรรู้ก่อนการกู้ร่วมซื้อบ้าน
เมื่อถามถึงความฝันของใครหลาย ๆ คน ก็คงมี “บ้าน” อยู่เป็นหนึ่งในความฝัน  ความจริงแล้วการมีบ้านไม่ได้มีองค์ประกอบหรือวิธีการอะไรที่ซับซ้อนมากนัก แต่การซื้อบ้านก็ย่อมต้องมีทุนทรัพย์จำนวนนึงหรืออาจจะจำนวนมากแล้วแต่รูปแบบบ้านที่เราต้องการซื้อ แต่การจะมีเงินก้อนมากมายขนาดนั้นก็ถือเป็นเรื่องที่ยากสำหรับยุคสมัยนี้ ดังนั้นการกู้สถาบันการเงินก็ถือเป็นทางออกที่ดีทางออกหนึ่ง แต่ก็ต้องอ้างอิงจากฐานรายได้ที่ค่อนข้างสูงถึงจะสามารถกูผ่านได้เพียงคนเดียว แต่หากมีรายได้ที่ไม่ได้สูงมากนัก การ “ กู้ร่วม “ นับว่าเป็นการตอบโจทย์ได้ดีเลยทีเดียว เนื่องด้วยการก็ร่วมสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถช่วยกันผ่อนชำระค่าบ้านได้อีกด้วย วันนี้เราจึงนำบทความเกี่ยวกับ “ ข้อควรรู้ก่อนการกู้ร่วมซื้อบ้าน “ เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นก่อนการตัดสินใจ

ข้อควรรู้ก่อนการกู้ร่วมซื้อบ้าน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายบ้านได้ที่ สัญญาซื้อขายบ้าน คืออะไร 5 รายละเอียดที่ต้องชัดเจน ก่อนเสียเปรียบ
  • ทำความรู้จักกับ กู้ร่วมซื้อบ้าน
การกู้ร่วมซื้อบ้าน คือ การกู้ทรัพย์สินโดยมีผู้กู้ร่วมอีกคน เป็นคนร่วมรับภาะระหนี้ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้การกู้เงินซื้อบ้านง่ายขึ้น และให้ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอนุมัติการขอสินเชื่อสำหรับกู้เงินซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น
  • ใครบ้างที่สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้
สำหรับผู้ที่สามารถเป็นผู้กู้ร่วมได้ จะต้องเป็นสายโลหิตเดียวกัน  เช่น  พ่อแม่ พี่ น้อง เครือญาติ หรือคู่สมรส และถ้ากรณีที่เป็นพี่น้องที่ใช้คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมกันได้ แต่ต้องนำหลักฐานมาแสดง เช่น ทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรที่แสดงให้เห็นว่ามีพ่อแม่เดียวกัน หรือถ้ามีคู่สมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนก็นำหลักฐาน เช่น ภาพถ่ายวันแต่งงาน หรือใบลงบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจซึ่งระบุว่าอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา เป็นหลักฐานในการกู้ได้ แต่หากมีบุตรร่วมกันก็ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งระบุชื่อของคู่สมรสที่มากู้ร่วม แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายพิจารณาการให้สินเชื่อของแต่ลธนาคารด้วย โดยคุณสมบัติของผู้กู้ร่วมก็ต้องมีความสามารถในการชำระหนี้เช่นกัน  คือ มีรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่าระดับที่กำหนด ส่วนใหญ่ต้องไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ที่สำคัญไม่ควรภาระหนี้มากเกินไป และไม่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้ เพราะหากมีความสามารถในการชำระหนี้ต่ำหรือมีประวัติหนี้เสีย การมากู้ร่วมจะไม่เกิดประโยชน์อะไร
  • กรรมสิทธิ์เกี่ยวกับบ้านของผู้กู้ร่วม
อย่าลืมว่า เมื่อกู้ร่วมแล้ว กรรมสิทธิ์บ้านจะต้องเป็นของทั้งสองฝ่าย จะโอนให้ผู้อื่น หรือจะขาย ต้องได้รับการยินยอมจากผู้กู้ร่วมทุกราย แม้ว่าผู้กู้หลักจะเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียว หากมีปัญหาต้องการกรรมสิทธิ์คืน อาจจะต้องฟ้องร้อง และต้องหาหลักฐานการผ่อน หรือการโอนเงิน ฝากเงินที่แสดงให้เห็นว่า ผู้กู้หลักเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียวจริง ๆ แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฟ้องร้องพอสมควร

ข้อควรรู้ก่อนการกู้ร่วมซื้อบ้าน

  • สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี
ผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่จะนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมมาหักลดหย่อน และยกเว้นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมทั้งจำนวนไม่ได้ แต่ให้เฉลี่ยค่าลดหย่อน และยกเว้นเงินได้ตามส่วนจำนวนของผู้กู้ร่วมทุกคนโดยการเฉลี่ยภาษีตามส่วนจำนวนผู้กู้ร่วม อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมาย EIA ได้ที่ กฎหมาย EIA สำคัญอย่างไรต่อการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ กฏหมายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และเรานั้นสามารถพบเจอได้ทั่วไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน การศึกษากฏหมายเป็นเรื่องที่สำคัญ และไม่ควรมองข้าม สำหรับท่านใดที่ต้องการปรึกษาปัญหาทางด้านกฏหมายสามารถสอบถามข้อมูลมาได้ที่ Line@bnlaw และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook B.N. Law