ข้อกฏหมาย การครอบครองที่ดินเจ้าของร่วมที่ต้องรู้!

กรรมสิทธิ์ที่ดินรวมนั้นมีข้อแตกต่างจากกรรมสิทธิ์เจ้าของที่ดินเพียงคนเดียว ทั้งในเรื่องของการจัดสัดส่วนผลประโยชน์ เรื่องของกรรมสิทธิ์ และการดำเนินการทางข้อกฏหมายต่าง ๆ ซึ่งมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียว 

 

กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน คือ การที่คนตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินเดียวกัน ถ้าเจ้าของรวมทุกคนไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนว่าใครจะมีกรรมสิทธิ์คนละกี่ส่วน กฎหมายก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมแต่ละคนมีสัดส่วนคนละเท่า ๆ กัน และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน โดยกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินนั้นสามารถแบ่งเป็น 3 รูปแบบ

 

รูปแบบที่ 1 : เป็นการแบ่งที่ดินในแบบรวม ๆ

เจ้าของรวมคนหนึ่งจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ซึ่งจะแบ่งสัดส่วนกรรมสิทธิ์ของแต่ละคนอย่างชัดเจนเป็นจำนวนเปอร์เซ็น (25%, 50%) เช่น ที่ดินแปลง A เนื้อที่ 10 ไร่ มี นาย ก และ นาย ข เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงนี้คนละ 50% เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินแปลงนี้ นาย ก. และ นาย ข. ก็ได้ที่ดินคนละ 5 ไร่ เป็นต้น

 

รูปแบบที่ 2 : แบ่งด้วยการบอกขนาดการถือครอง เช่น คนละกี่ตารางวา / คนละกี่ไร่

คล้าย ๆ กับการแบ่งเปอร์เซ็นแต่มีความชัดเจนมากกว่า โดยใช้แบ่งด้วยหน่วยพื้นที่ของที่ดินเพื่อให้เจ้าของรวมสามารถใช้ประโยชน์ภายในพื้นที่ของตนที่ตนมีกรรมสิทธิ์ได้ เช่น นาย ก และนาย ข เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน 100 ไร่ โดยแบ่งถือกรรมสิทธิ์คนละ 50 ไร่ เป็นต้น

 

รูปแบบที่ 3 : ไม่ได้กำหนดสัดส่วนถือครองกรรมสิทธิ์

เจ้าของรวมทุกคนไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนว่าใครจะมีกรรมสิทธิ์คนละกี่ส่วน ดังนั้น เจ้าของรวมแต่ละคนมีสัดส่วนคนละเท่า ๆ กัน และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน

 

การซื้อขายที่ดินเจ้าของรวม

ในกรณีที่ต้องการขายที่ดินที่มีเจ้าของรวมนั้น การขายจะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคนในที่ดินแปลงนี้ หากได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมเพียงคนเดียวก็ถือว่าการซื้อขายนั้นไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ว่าที่ดินที่มีเจ้าของรวมนี้ได้มีการแบ่งกรรมสิทธิ์อย่างชัดเจนไว้ก่อนแล้ว ซึ่งจะถือว่าทำการซื้อขายได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมท่านอื่น ๆ 

 

การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีเจ้าของรวมค่อนข้างจะมีรายละเอียดทางกฏหมายและขั้นตอนในการซื้อขายที่ยุ่งยากมากกว่า รวมทั้งอาจจะเกิดปัญหาเรื่องความไม่ลงตัวของผลประโยชน์ ดังนั้นในการดำเนินการซื้อขายหรือด้านกฎหมายต้องมีความรอบคอบอย่างมาก หากต้องการปรึกษาเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย และเกร็ดความรู้เรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.condonewb.com/insight/1650/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99

https://www.smartfinn.co.th/article/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1

https://www.dol.go.th/mukdahan/Manual_DOL/4.%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *