การทำสัญญาธุรกิจกับหุ้นส่วน

การทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจคนเดียว จึงทำให้การทำธุรกิจส่วนมากนั้นจะต้องมีหุ้นส่วนในการลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจแบบมีหุ้นส่วนก็คือการร่างหนังสือสัญญาเพื่อป้องกันปัญญาหรือข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

ลักษณะของห้างหุ้นส่วน

  • บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเข้าเป็นหุ้นส่วน
  • ตกลงเข้าหุ้นกันทำกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินกิจการหรือธุรกิจนั้น

 

ห้างหุ้นส่วน 3 ประเภทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒

หุ้นส่วนและบริษัท

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ 

  • ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบกับความรับผิดใด ๆ ที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้น เช่น หนี้สิน เป็นต้น
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วน และเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราภาษีก้าวหน้า)

2.ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

  • จดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วน และเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดต่อหน้าที่ความรับผิดที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้นทั้งหมดทุกคน โดยไม่มีการจำกัดความรับผิดหรือแยกความรับผิด

3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • จดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วน และเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • มีผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภท
    • หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดจะมีการแบ่งแยกความรับผิดระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวกับทรัพย์สินที่นำมาเข้าหุ้นในกิจการ
    • หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้เท่านั้นที่สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนได้

 

หนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (Partnership Agreement)

  คือ สัญญาที่มีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ในการทำสัญญาเพื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้น โดยจะกำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วน รวมทั้งความสัมพันธ์และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เช่น การบริหารจัดการ การออกเสียงหรือลงมติ การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วน การห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนค้าแข่ง และการเลิกห้างหุ้นส่วน

โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องลงลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นการยอมรับและปฏิบัติตามให้หนังสือสัญญาฯ 

 

รายละเอียดที่ควรระบุลงในสัญญาฯ

  • วันเดือนปีในการทำสัญญา
  • วัตถุประสงค์ในการทำสัญญา
  • ชื่อ-นามสกุลของหุ้นส่วนทุกคน
  • พยาน
  • เอกสารแนบท้าย

 

เอกสารแนบท้ายการทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วน

  • อากรแสตมป์ 100 บาท
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของหุ้นส่วนทุกคน

 

ไม่ว่าหุ้นส่วนจะเป็นเพื่อน ญาติ หรือคนสนิท การร่างหนังสือสัญญาจะต้องระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนชัดเจน เพื่อความโปร่งใสของทุกฝ่ายและความชัดเจนในบทบาทหน้าของหุ้นส่วนแต่ละคนในการดำเนินธุรกิจนั่นเอง หากต้องการทนายความเพื่อร่างสัญญธุรกิจหรือตรวจสอบหนังสือสัญญาต่าง ๆ  รวมทั้งปรึกษาข้อกฎหมายหรือดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.rd.go.th/6162.html

http://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%bb03/%bb03-20-9999-update.pdf

https://balanceniti.com/6-%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b9%87%e0%b8%81-%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3/

https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=950

https://inflowaccount.co.th/good-partner/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *