การจดทะเบียนบริษัท ต้องทำอย่างไร?

จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัทเมื่อไหร่ถึงจะเหมาะสม?

กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าเมื่อไหร่กันแน่ที่ควรจดทะเบียนการค้า แต่สิ่งที่เป็นสัญญาณบอกได้ว่าถึงเวลาแล้วคือ รายรับของบริษัท ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนบริษัทฐานเงินได้เมื่อต้องจ่ายภาษีจะถูกคำนวณแบบเป็นเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มีฐานภาษีสูงสุดที่ 750,000 บาท เสียภาษีที่ 35% แต่ถ้าจดทะเบียนบริษัทแล้ว ภาษีเงินได้สูงสุดที่ต้องจ่ายจะอยู่ที่ 20% ซึ่งตรงนี้จะมองว่ามากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ เพราะปัจจัยในการคำนวณเงินได้ของบุคคลกับบริษัทที่ผ่านการจดทะเบียนมาแล้วมีความแตกต่างกัน ผู้ประกอบการควรพิจารณาส่วนนี้ให้ดีค่ะ

 

จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัทมีกี่ประเภท?

นอกจากความสงสัยว่าการจดทะเบียนบริษัทควรจดเมื่อไหร่แล้ว ผู้ประกอบการบางรายอาจยังสงสัยเรื่องของการจดทะเบียนบริษัทเพิ่มเติมว่า การจดทะเบียนมีกี่ประเภท การจดทะเบียนบริษัทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ค่ะ

จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)

คือการจดทะเบียนบริษัทของกิจการที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว คิดเอง ทำเอง มีอิสระและสามารถตัดสินใจทุกอย่างเกี่ยวกับกิจการได้เต็มที่หรือเหมาะกับกิจการขนาดเล็กที่ขายสินค้าหรือบริการง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก ข้อดีคือผู้ประกอบการจะได้รับกำไรเต็ม ๆ และเสียภาษีโดยคำนวณอัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเท่านั้น แต่ถ้ากิจการขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบทุกอย่างรวมถึงหนี้สินแบบไม่จำกัดเช่นกัน

จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล

สำหรับกิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน การกระทำทุกอย่างจะเป็นไปในนามกิจการทั้งหมด ข้อดีคือ ภาษีเงินได้สูงสุดที่ต้องจ่ายจะอยู่ที่ 20% ซึ่งน้อยกว่าจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ ส่วนข้อเสียคือ การดำเนินกิจการอาจมีความล่าช้าเพราะมีผู้ตัดสินใจหลายคน โดยทะเบียนนิติบุคคลมี 3 ประเภทแบ่งตามการรับผิดชอบหนี้สิน ที่ “จำกัด” หรือ “ไม่จำกัดจำนวน”ดังนี้

ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ

ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จะจดหรือไม่จดทะเบียนนิติบุคคลก็ได้ โดยความรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีประเภทเดียวเท่านั้น คือ ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัดจำนวน” ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถตกลงทำกิจการร่วมกันและแบ่งปันกำไรจากกิจการได้อีกด้วย แต่ถ้ากิจการขาดทุน หุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ความรับผิดชอบของหุ้นส่วน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบ “จำกัด” และ แบบ “ไม่จำกัด” ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “จำกัด” จะไม่สามารถตัดสินใจในกิจการได้ และผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัดจำนวน” จะมีสิทธิในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในกิจการได้ทั้งหมด ถ้าหากกิจการขาดทุน ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะไม่ต้องจ่ายภาษี

บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการ 3 คนขึ้นไป ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีประเภทเดียว คือ ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “จำกัด” ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งกิจการแบบนี้ต้องมีภาพลักษณ์ดี มีการวางแผนกิจการรัดกุม และมีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริษัท เพื่อทำให้กิจการเกิดความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง?

1.ทำการตรวจและจองชื่อของบริษัท

ในขั้นตอนนี้คุณสามารถเข้าไปที่หน้า เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสมัครสมาชิกได้ฟรี และลงมือ จองชื่อ/ตรวจทะเบียนคำขอนิติบุคคล โดยคุณสามารถระบุชื่อบริษัทได้มากถึง 3 ชื่อ แต่มีข้อจำกัดที่ว่าชื่อบริษัทที่ระบุไปจะต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว

2.จดทะเบียนหนังสือคณห์สนธิ

หนังสือคณห์สนธิหรือหนังสือที่ใช้แสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท เมื่อนายทะเบียนรับรองชื่อเรียบร้อยแล้วคุณจำเป็นจะต้องทำการยื่นภายใน 30 วัน

3.ทำการแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด

ในกรณีที่เอกสารถูกตรวจสอบจากนายทะเบียนเรียบร้อยแล้วเอกสารเกิดมีปัญหาส่วนใดส่วนหนึ่ง ผู้ยื่นจดทะเบียนจะต้องทำการแก้ไขให้เรียบร้อย

4.เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อใช้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด โดยเอกสารที่จำเป็นจะต้องจัดเตรียมไว้ก็คือ

  1. แบบจองชื่อนิติบุคคล
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ก่อตั้ง และคณะกรรมการทุกคน
  3. สําเนาหลักฐานการรับชําระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  4. แผ่นที่แสดงที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ พร้อมสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง

ข้อสำคัญคือเอกสารทุกฉบับผู้ขอจดทะเบียนจะต้องทำการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งคน ยกเว้นเอกสารส่วนตัวที่จะต้องทำการเซ็นด้วยตนเอง

5.ลงมือยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

คุณสามารถยื่นคำขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตพื้นที่ใกล้บ้านได้ทุกจังหวัด เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรอง คุณก็จะกลายเป็นเจ้าของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาแบบถูกกฎหมายแล้ว

 ปัจจัยที่ทำให้การดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนคือการเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อง่ายต่อการติดต่อ สำหรับท่านใดที่ต้องการปรึกษาปัญหาทางด้านกฏหมายสามารถสอบถามข้อมูลมาได้ที่ Line@bnlaw และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook balanceniti

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *