กฎหมายบ้านและที่ดินติดน้ำ

กฎหมายบ้านและที่ดินติดน้ำ
ใกล้ฤดูฝนเข้ามาทุกทีแล้ว ทำเอาท่านที่มีบ้านหรือที่ดินติดน้ำต้องขวัญเสียไปตาม ๆ กัน เนื่องจากว่าปัญหาที่ตามมาแน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นเรื่องน้ำล้นตลิ่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือที่ดินบริเวณนั้น แต่ก็ยังมีหลายท่านที่อยู่ในขั้นตอนการเลือกหาบ้านและที่ดินติดริมน้ำเนื่องด้วยบรรยากาศ และความสวยงามอันเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ทุกท่านมองข้ามข้อกฎหมายต่าง ๆ ไป  ดังนั้นทุกท่านควรศึกษาหาข้อมูลให้แน่ชัดและถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดตามมาในภายหลัง วันนี้เราจึงนำเสนอบทความที่ว่าด้วยเรื่อง “ กฎหมายบ้านและที่ดินติดน้ำ “ มาให้ทุกท่านได้เป็นแนวทางการเรียนรู้เบื้องต้น

กฎหมายบ้านและที่ดินติดน้ำ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมาย EIA ได้ที่ กฎหมาย EIA สำคัญอย่างไรต่อการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ 1.อาคารต้องถอนร่นจากเขตน้ำสาธารณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 55 1.1) ถ้าแหล่งน้ำ คูคลอง ลำประโดง เเม่น้ำ กว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ถอยร่นอาคารอย่างน้อย 3 เมตร 1.2) ถ้าเเหล่งน้ำกว่างกว่า 10 เมตร ให้ถอยร่นอาคารอย่างน้อย 6 เมตร 1.3) ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ ทะเล เช่น กว๊านพะเยา อ่าวไทย เป็นต้น ให้ถอยร่นอาคารอย่างน้อย 12 เมตร นับที่ระดับน้ำขึ้นปกติสูงสุดประจำวัน 1.4) ยกเว้นการสร้างสะพาน เขื่อน รั้ว ท่อระบายน้ำ ท่าเรือ ป้าย อู่เรือ คานเรือ ไม่ต้องถอยร่น 2.เงื่อนไขตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ให้พื้นที่ริมเเม่น้ำเจ้าพระนาทั้งสองฝั่งส่วนใหญ่ ห้ามมิให้บุคคลใดก่อสร้างอาคารอื่นใด

กฎหมายบ้านและที่ดินติดน้ำ

2.1) ภายใน 3 เมตรจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ยกเว้นสร้างเขื่อน อุโมงค์ สะพาน ทาง หรือท่อระบายน้ำ รั้ว กำแพง หรือประตู 2.2) ภายใน 3 เมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน 15 เมตร จากริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ให้ก่อสร้างอาคารสูงไม่เกิน 8 เมตร ซึ่งมิใช่ห้องแถวหรือตึกแถว 2.3) ภายในระยะ 15 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 45 เมตร จากริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ให้สร้างอาคารความสูงไม่เกิน 16 เมตร เป็นอย่างไรกันบ้าง หลังจากได้อ่านและศึกษาข้อกฎหมายเบื้องต้นแล้ว หวังว่าบทความของเราจะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจของท่านไม่มากก็น้อย กฏหมายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และเรานั้นสามารถพบเจอได้ทั่วไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน การศึกษากฏหมายเป็นเรื่องที่สำคัญ และไม่ควรมองข้าม สำหรับท่านใดที่ต้องการปรึกษาปัญหาทางด้านกฏหมายสามารถสอบถามข้อมูลมาได้ที่ Line@bnlaw และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook B.N. Law