กฎหมายชวนรู้! ยกเลิกสัญญาจ้างอย่างถูกกฎหมาย

          การริเริ่มต้นการทำงานไม่ว่าจะที่ใดก็ตามต้องมีหนังสือสัญญาจ้างเพื่อชี้แจงเงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ให้กับลูกจ้าง ทั้งเพื่อปกป้องข้อมูลบริษัทและผลประโยชน์ของตัวลูกจ้างเอง แต่บางครั้งในฐานะนายจ้างมีเหตุจำเป็นที่ต้องบอกยกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด หรือมีเหตุใด ๆ ที่ต้องยกเลิกการจ้างงานนั้นจะไม่สามารถกระทำได้ด้วยเพียงคำพูดเพียงอย่างเดียวต้องทำตามข้อกฎหมายบังคับ

 

หากมีเหตุให้ต้องเลิกจ้างแรงงาน นายจ้างจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามหลักกฏหมายแพ่งและพาณิชย์และกฏหมายคุ้มครองแรงงาน โดยแบ่งเป็น 2 กรณี 

 

  • สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาจ้าง หรือ “สัญญาปลายปิด” นายจ้างไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้าก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุด โดยสัญญาประเภทนี้จะต้องเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาเริ่มและสิ้นสุดของสัญญาไว้ชัดเจน โดยทั่วไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้ 
  • สัญญาจ้างแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้าง หรือ “สัญญาปลายเปิด” นายจ้างจำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า

 

การบอกยกเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้า

หากในสัญญาจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างในการบอกยกเลิกสัญญาจ้างอย่างชัดเจน แต่นายจ้างควรบอกยกเลิกล่วงหน้าอย่างอย่างน้อย 15 – 30 วัน หรือหากเป็นการบอกเลิกสัญญาการจ้างงานในช่วงระยะทดลองงานควรอยู่ที่ 14 วันล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องเกิดขึ้น

 

การจ่ายค่าชดเชย

หากนายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างต้องมีการจ่ายค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 ดังนี้

 

  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้าย 
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้า 90 วันสุดท้าย 
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180 วันสุดท้าย 
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 240 วันสุดท้าย
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย

 

แต่หากนายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำความผิด หรือทำการใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างที่ระบุไว้ นายจ้างมีสิทธิ์ที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างได้ อาทิเช่น ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง, จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหา, ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง เป็นต้น

 

หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: hrdi.or.th

law.crru.ac.th

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *