กดเข้าเว็บกรมสรรพกรจะยื่นภาษีทุกปี ก็ลืมทุกทีว่าต้องกดเลือก ภงด. 90 หรือ ภงด. 91 กันนะ เพราะทั้ง 2 ประเภทเป็นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาเหมือนกัน แต่สถานะแตกต่างกันจึงต้องเลือกยื่นแบบให้ถูกประเภท
ภงด. 90 คืออะไร ? ใครต้องเป็นคนยื่น ?
คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ถึง (8) หลายประเภทหรือประเภทเดียว โดยต้องยื่นแบบภายใน 31 มีนาคมของทุกปี
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90
- บุคคลที่ยังไม่จดทะเบียนสมรส ที่มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
- บุคคลที่เป็นสามี ภรรยา ที่มีเงินได้จากทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท
- ทรัพย์สินมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่งมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
- บุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
- วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้เกิน 1,800,000 บาท หรือ 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาท จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ภงด. 91 คืออะไร ? ใครต้องเป็นคนยื่น ?
คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับคนที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ประเภทเดียว ที่ได้จากการจ้างงาน ต้องยื่นภายใน 31 มีนาคมของทุกปี
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91
- บุคคลที่ยังไม่จดทะเบียนสมรส มีเงินได้เกิน 120,000 บาท
- บุคคลที่เป็นสามี ภรรยา ที่มีเงินได้จากทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 220,000 บาท
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ทั้ง 8 ประเภท
- เงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1)
- ค่าจ้างทั่วไปตามตำแหน่งงานที่ทำ (เงินได้ประเภทที่ 2)
- ค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา (เงินได้ประเภทที่ 3)
- ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลประโยชน์จากการลงทุน (เงินได้ประเภทที่ 4)
- ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)
- ค่าวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)
- ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ (เงินได้ประเภทที่ 7)
- เงินได้อื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว (เงินได้ประเภทที่ 8)
ถ้าเป็นพนักงานทั่วไปที่มีรายได้จากเงินเดือนประจำเพียงอย่างเดียวอยู่เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 แต่หากมีรายได้ช่องทางอื่น ๆ ด้วยต้องเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 อย่าลืม! ยื่นภาษีภายในกำหนด ลดความเสี่ยงโดนค่าปรับเกินกำหนด
หากต้องการความรู้หรือปรึกษาเรื่องกฎหมาย Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm