ปี 2566 นี้ไม่เพียงแต่การใช้ชีวิตที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคดิจิทัลมากขึ้น แม้แต่ตัวบทกฎหมายเองก็ต้องมีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าชีวิตในปัจจุบันของทุก ๆ คนก็ต้องทำกิจกรรมและธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลเป็นหลัก ไม่ว่าจะผ่านโทรศัพท์มือถือ แอปพลิเคชั่น โปรแกรม คอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ ดังนั้นเราควรศึกษาและรู้จักกับชุดกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นข้อมูลในการใช้ชีวิตประจำวันกันสักนิด
1. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
Electronic Transactions Act (ETA) หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
- ธุรกรรมทางแพ่งและพาณิชย์ เช่น การทำสัญญากู้ยืมเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การปลดหนี้เงินกู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่ใช้กับธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัวและธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก
- ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เช่น คำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน คำสั่งทางปกครอง การชำระเงิน การประกาศหรือการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น การยื่นภาษีทางออนไลน์ เป็นต้น
2. กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบและได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้แล้ว
- การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
- ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
- ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
- กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
- กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
- พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้วจะถือเป็นผู้พ้นผิด
- ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
- การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
- การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
- การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
- ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่มีความผิด หากมิได้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้
3. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยและนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต โดย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมความคุ้มครองทั้งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้โดยทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ-นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เบอร์โทรศัพท์มือถือ, อาชีพ, ข้อมูลการศึกษา, ข้อมูลการเงิน, รูปถ่าย เป็นต้น
4. กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ มาตรการหรือการดําเนินการที่กําหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
อันที่จริงแล้วกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ยังมีข้อมูลปลีกย่อยอีกมากมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลหรืการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น แต่กฎหมายที่บุคคลทั่วไปควรศึกษาข้อมูลเพื่ออาจจะเป้นประโยชน์ในอนาคตควรเป้นกฎหมายธุรกรรมดิจิทัล เพราะมีความเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันมากที่สุด เช่น การโอนเงินผ่านแอปฯ การแสกนจ่ายสินค้า การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น หวังว่าจะเป็นเกร็ดความรู้กฎหมายเล็ก ๆ ที่อาจจะมีประโยชน์สำหรับทุกคน หากต้องการปรึกษาเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย และเกร็ดความรู้เรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm