การขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้าของสินค้าหรือบริการนั้นเพื่อเป็นการขอความคุ้มครองและป้องการละเมิดสิทธิภายใต้กฏหมายพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ซึ่งหากมีผู้ใดละเมิดสิทธิด้วยการลอกเลียนแบบสินค้า หรือทำสินค้ามีความคล้ายคลึงกันอย่างมากจนอาจเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าชนิดเดียวกันต้องระวังบทลงโทษทางกฏหมาย
เครื่องหมายการค้า(Trade Mark) คือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตราโลโก้ ยี่ห้อ ที่ใช้เพื่อแสดงว่ากับสินค้าหรือบริการของเจ้าของนั้นแตกต่างจากแบรนด์อื่น เช่น GUCCI MAMA PANASONIC เป็นต้น
สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่ยังมิได้จดทะเบียน แต่จะฟ้องร้องเพื่อป้องกันการละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้
- เครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นผู้มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้านั้น (มาตรา 44)
- สิทธิในการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าหรือโอนเครื่องหมายการค้าของตนให้บุคคลอื่น
- สิทธิในการคัดค้านหรือขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น (มาตรา 35, 60)
- สิทธิในการฟ้องร้องเพื่อป้องกันการละเมิดและเรียกค่าสินไหนทดแทน
- สิทธิในการต่ออายุเครื่องหมายการค้าที่ตนเองเป็นเจ้าของ
บทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า
การละเมิดเครื่องหมายการค้าความผิดและมีโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่2) พ.ศ.2543 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 ได้แก่
- การปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมาย
ร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้ว ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 108)
- การเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมาย
ร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้ว ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 109)
- การนำหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมาย
ร่วมของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วมาใช้สำหรับสินค้าของตนเองจนอาจเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ขึ้นทะเบียนเเล้ว ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 109/1)
- การนำเข้ามาสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมปลอมตามมาตรา 108 เข้ามาจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวังโทษจำคุกไม่เกิ 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 110)
หากกำลังโดนลอกเลียนแบบสินค้าหรือโดยแอบอ้างสินค้า ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าเพิ่มเติม หรือต้องการทนายที่ปรึกษากฏหมายเพื่อดำเนินการทางกฏหมายในการถูกละเมิดสิทธิ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต:http://ipthailand.go.th/images/2562/Suppress/lesson3.pdf