นอกจากภาษีเงินได้ที่ทุกคนควรศึกษาแล้วนั้น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนควรรู้จัก กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา โดยเจ้าของที่ดินประเภทต่าง ๆ จะต้องชำระค่าภาษีเป็นรายปีให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีรายปีที่ต้องชำระโดยคำนวณจากมูลค่าภาษีจากราคาที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างในที่ดินนั้น ๆ
- ที่ดิน – ใช้ราคาประเมินที่ดิน
- สิ่งปลูกสร้าง – ใช้ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง
- สิ่งปลูกสร้างเป็นห้องชุด – ใช้ราคาประเมินห้องชุด
โดยสามารถชำระได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้รับผิดชอบ เช่น เทศบาล, อบต. เป็นต้น
ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดิน มีเงื่อนไขดังนี้
- เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามโฉนดที่ดิน
- ผู้ครอบครองหรือมีการทำประโยชน์ในที่ดินนั้น ๆ
4 ประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายของภาษีที่ดิน 2566
1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15%
- เจ้าของที่เป็นบุคคลธรรมดา หากมีที่ดินทำการเกษตร มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
- เจ้าของที่เป็นบุคคลธรรมดา มีที่ดินที่มูลค่าเกิน 50 ล้าน ได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทแรก แต่ส่วนเกิน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษีตามอัตราปกติ
- เจ้าของที่เป็นนิติบุคคล เสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
บุคคลธรรมดา
- ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
- ที่ดินมูลค่า 50-125 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท
- ที่ดินมูลค่า 125-150 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 150-550 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 550-1,050 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท
- ที่ดินมูลค่า 1,050 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
นิติบุคคล
- ที่ดินมูลค่า 0-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท
- ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 100-500 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท
- ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.30%
- เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดา โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท
- เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดา บ้านมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ
- สำหรับเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน เช่น ผู้เช่าซื้อห้องคอนโดมิเนียม, ผู้เช่าซื้อที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เป็นต้น จะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
- ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
- ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
- ที่ดินมูลค่า 0-10 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
- ที่ดินมูลค่า 10-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
- ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป
- ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
- ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
3. ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เพดานภาษีสูงสุด 1.20%
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ โดยถูกนำมาใช้ในลักษณะออฟฟิศ สำนักงาน โรงแรม ร้านอาหาร
การคำนวณอัตราค่าภาษีพาณิชยกรรม
ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท
ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท
ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท
ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท
ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพดานสูงสุด 3%
- ที่ดินเปล่าจะถูกจัดเป็นที่รกร้างว่างเปล่า หากปล่อยรกร้างไว้นานติดต่อกัน 3 ปี เมื่อไปเสียภาษีในปีที่ 4 จะถูกเก็บเพิ่มอีก 0.3%
- เพิ่มอัตราภาษีอีก 0.3% ในทุก ๆ 3 ปีที่ปล่อยที่ดินรกร้าง แต่โดยรวมทั้งหมดแล้วจะเก็บภาษีได้ไม่เกิน 3%
การคำนวณอัตราค่าภาษีที่ดินรกร้าง
ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท
ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท
ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท
ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท
ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท
การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถชำระได้ที่องค์กรท้องถิ่นฯ หรือชำระผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคาร กฎหมายภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้และชำระตามหน้าที่จะได้ไม่ต้องโดนเรียกเก็บย้อนหลัง หากเจ้าของที่หรือนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ท่านใดต้องการปรึกษาเรื่องการยื่นชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือกฎหมายอื่น ๆ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm