กฎหมาย PDPA vs ภาคธุรกิจ
การประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นั้นช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลนั้นไม่โดนละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และมีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลในกรณีโดนละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
“PDPA” คือ กฎหมายที่จะช่วยควบคุมการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ที่เกิดจากการตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ซึ่งเพื่อเป็นการให้ความสำคัญกับสิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการจะนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้นั้น ผู้ที่จะนำไปใช้จะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลแล้วเท่านั้น และต้องแจ้งจุดประสงค์ในการนำไปใช้อย่างชัดเจนและโปร่งใส
บทลงโทษหากละเมิด PDPA
- ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี
- การเรียกร้องค่าเสียหายได้มากถึงสองเท่าของความเสียหายจริง
สำหรับภาคธุรกิจที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการนั้นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลที่อนุญาตให้จัดเก็บข้อมูลได้ และปฏิบัติตามมาตราการ PDPA เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลฯ
- การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลรายใหม่จะต้องได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้ง บอกวัตถุประสงค์ และต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากเจ้าของข้อมูล
- สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ตามระยะเวลาที่กำหนด เมื่อถึงกำหนดแล้วต้องทำการลบข้อมูลให้หมดตามมาตราการของ PDPA
- จัดตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO) เพื่อดูแลเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะ
- แจ้งเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง
เมื่อปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีทุกวันทำให้เกิดการบังคับกฎหมาย PDPA ขึ้น ดังนั้นภาคธุรกิจจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับการใช้ข้อมูลในการทำธุรกิจที่ต้องเปลี่ยนไปให้เป็นไปตามที่ข้อกฎหมายกำหนดไว้ ถือเป็นการเคารพความเป็นส่วนตัวของบุคคลทุกคนและตระหนักถึงความสำคัญในการจัดเก็บข้อมูล หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายคู่ใจที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงานทางกฎหมาย Balance Niti สำนักงานกฎหมายโดยนักกฎหมายผู้มีประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำ และดำเนินงานกฎหมายให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างราบรื่นและถูกต้อง สนใจพูดคุยหรือสอบถามสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: https://www.salika.co/2022/06/24/pdpa-law-solutions-for-business/