ภาพจำซ้ำ ๆ ในการดำเนินการทางกฎหมายของประเทศไทยในสมัยก่อนที่จะต้องใช้เวลานานอบย่างมาก และมีขั้นตอนที่ยุ่งยากในการขอตรวจสอบความคืบหน้า พรบ.กฎหมายยุคใหม่นั้นได้มีการปรับปรุงขั้นตอนในการดำเนินงานโดยกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอนอย่างชัดเจน และประชาชนมีสิทธิ์ตรวจสอบความคืบหน้าได้โดยผ่านช่องทางที่หลากหลายยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดข้อพิพาทในคดีความต่าง ๆ เกิดขึ้นจนต้องมีกระบวนการยุติธรรมเข้ามาดูแลและไกล่เกลี่ย โดยจะต้องสามารถขอตรวจสอบจากแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมได้
ผู้ที่มีสิทธิ์ตามกฎหมายในตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงานทางกฎหมายในคดีความต่าง ๆ
- คู่ความ
- ผู้ยื่นฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล
- คู่กรณี
- ผู้มีเรื่องโต้แย้งหรือมีข้อพิพาทกัน
- ผู้ต้องหา คือ ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังไม่ได้ถูกฟ้องคดี
- ผู้เสียหาย คือ ผู้ได้รับความเสียหายจากการทำความผิดหรือผู้มีอำนาจจัดการแทน
- ผู้มีอำนาจจัดการแทนตามกฎหมาย (เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรม พ่อแม่ บุตร สามีภรรยา) หรือในฐานะทนายความ
กระบวนการยุติธรรม การดำเนินงานให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรมทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ ที่มีหน้าที่บริหารงานยุติธรรม ดังนี้
(1) กระทรวงกลาโหม
(2) กระทรวงมหาดไทย
(3) กระทรวงยุติธรรม
(4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(5) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(6) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(7) คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(8)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (
9) ศาล
(10) องค์กรอัยการ
(11) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่น ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ข้อกำหนดในการดำเนินการให้ความยุติธรรมของแต่ละหน่วยงาน
- กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน ยกเว้นแต่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้แล้ว
- ต้องแจ้งกำหนดเวลาดำเนินงานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทราบโดยทั่วกัน
- เจ้าหน้าที่ดำเนินงานให้เสร็จภายในกำหนดระยะเวลา
- “ถ้าไม่เสร็จ” ต้องบันทึกเหตุล่าช้า และกำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วที่สุด รายงาน และแสดงหลักฐาน ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เพื่อพิจารณาสั่งการ แล้วแจ้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
- “ถ้าไม่รายงาน” ผู้บังคับบัญชาหรือล่าช้าเกินสมควรแก่เหตุ/ไม่มีเหตุสมควร หรือไม่แจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา “ดำเนินการทางวินัย”
- ต้องสามารถตรวจสอบความคืบหน้าการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมได้จากช่องทางต่าง ๆ เช่น ทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น อินเตอร์เน็ต เบอร์โทร เป็นต้น
- ประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลของคดีที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะได้
- หากการดำเนินล่าช้ากว่ากำหนดจะต้องมีผู้แจ้งเหตุผลและรับผิดชอบต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้น
- มีข้อมูลสถิติ ระยะเวลาการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน ผลการดำเนินงาน เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนทราบทุกปี
- ตรวจสอบขั้นตอน ระยะเวลาการดำเนินงานว่าเหมาะสมหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมให้มีมาตรการพัฒนา/ปรับปรุงหน่วยงานหรือระบบการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน อย่างน้อยดำเนินการทุก 3 ปี
ซึ่งการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า หากต้องการความช่วยเหลือเรื่องคดีความ ต้องการดำเนินขั้นตอนด้านกฎหมายต่าง ๆ หรือดำเนินการเอกสารติดต่อราชการต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: https://ratchakitcha.soc.go.th/