Update ! ข้อกฎหมายใหม่ชวนรู้ 2023

เมื่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น รวมทั้งบทบาทของข้อกฎหมายที่ควรมีการปรับปรุงและแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัยของปัจจุบัน เพื่อให้คุ้มครองตัวบุคคลได้อย่างครอบคลุม รวมทั้งรับมือกับเหตุการณ์หรืออาชญากรรมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อกฎหมายของประเทศไทยก้มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยตลอดเวลา กฎหมายใหม่ที่น่าสนใจในปัจจุบัน มีดังนี้

 

กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลเครดิต

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565 ข้อกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองของข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การขอกู้สินเชื่อ การสมัครบัตรเครดิต เป็นต้น รวมถึงประวัติการชำระหนี้ทั้งที่ตรงตามกำหนดและค้างชำระตามความเป็นจริง โดยสถาบันการเงินนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนนำไปทำการใด ๆ ทั้งเพื่อการพัฒนาบริการหรืออื่น ๆ 

 

  • เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ที่จะยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลหรือไม่ก็ได้ โดยจะไม่มีผลต่อการพิจารณาเครดิตต่าง ๆ 
  • เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ที่ขอดูข้อมูลที่เครดิตบูโรเก็บไว้ว่ามีการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง หากมีข้อมูลใดผิดพลาดเจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์เรียกร้องให้แก้ไขได้
  • ในกรณีที่ไม่ผ่านในการยื่นขอสินเชื่อนั้นสถาบันการเงินนั้นต้องออกเอกสารหนังสือปฏิเสธสินเชื่อให้ด้วย ซึ่งเจ้าของข้อมูลสามารถนำหนังสือฉบับนี้ไปขอยื่นเช็กเครดิตบูโรได้ฟรี เพื่อจะได้ทราบว่ามีอะไรในประวัติของเราที่สถาบันการเงินระบุเป็นสาเหตุไม่อนุมัติสินเชื่อหรือบัตรเครดิต

 

กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

Electronic Transactions Act (ETA) หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย 

 

  • ธุรกรรมทางแพ่งและพาณิชย์ เช่น การทำสัญญากู้ยืมเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การปลดหนี้เงินกู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่ใช้กับธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัวและธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก
  • ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เช่น คำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน คำสั่งทางปกครอง การชำระเงิน การประกาศหรือการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น การยื่นภาษีทางออนไลน์ เป็นต้น

 

กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ข้อกฎหมายที่กําหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยแบ่งระดับภัยคุกคามถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

 

  • ภัยคุกคามระดับไม่ร้ายแรง คือเหตุการณ์ที่เป็นภัยคุกคามมีผลทำให้ระบบเครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์ทำให้ช้าลง
  • ภัยคุกคามระดับร้ายแรง คือภัยคุกคามที่โจมตีระบบคอมพิวเตอร์โดยกระทบต่อความมั่นคงของรัฐทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การป้องกันประเทศ เศรษฐกิจ ความปลอดภัยสาธารณะ
  • ภัยคุกคามระดับวิกฤติ คือภัยคุมคามที่มีลักษณะการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศภายในประเทศเป็นบริเวณกว้าง และการโจมตีที่เป็นการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์

หากหน่วยงาน หรือองค์กรไหนไม่รายงานเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์แล้วล่ะก็โดนปรับไม่เกิน 200,000 บาท

 

หวังว่าจะเป็นเกร็ดความรู้กฎหมายใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับทุกคน หากต้องการปรึกษาเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย และเกร็ดความรู้เรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/6new/new113.pdf

https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/6new/new102.pdf

https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/6new/new98.pdf

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *