แดนกรรมสิทธิ์คืออะไร ?

แดนกรรมสิทธิ์คืออะไร ?

ความหมายของแดนกรรมสิทธิ์

แดนกรรมสิทธิ์คืออะไร ?

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1335 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพ้นพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย”

แดนกรรมสิทธิ์ ก็คือ พื้นที่เหนือพื้นดิน และใต้พื้นดิน ที่เจ้าของที่ดินมีสิทธิใช้สอยประโยชน์ได้ ดังนั้นก่อนที่มีสิทธิใช้สอยประโยชน์จากแดนกรรมสิทธิ์ เราก็ต้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นๆ ก่อน การใช้สอยประโยชน์จากแดนกรรมสิทธิ์ของนั้น เช่น สร้างตึกสูง หรือขุดสร้างห้องใต้ดินในที่ดินเป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จำเป็นต้องใช้สอบประโยชน์ของแดนกรรมสิทธิ์ของเราภายใต้กรอบกฎหมาย

ข้อจำกัดของการใช้สอยแดนกรรมสิทธิ์ของนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีกฎหมายควบคุมการใช้สอยประโยชน์ของเราหรือไม่ เช่น ประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1339 – 1355, พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ. 2497,  พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514, พ.ร.บ. โทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ. 2477, พ.ร.บ. การประปานครหลวง พ.ศ. 2510, พ.ร.บ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503, เป็นต้น

กฎหมายเหล่านี้มีอำนาจในการใช้สอยประโยชน์ หรือจำกัดการใช้ประโยชน์จากแดนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเรา นอกจากนี้กฎหมายยังให้อำนาจเรานอกเหนือจากใต้พื้นดิน และเหนือพื้นดินแล้ว ยังคุ้มครองเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ออกไปรอบๆ ทางด้านข้างอีกด้วย หมายความว่าถ้ามีใครมาก่อความรำคาญ เดือดร้อนจนสุดทน เช่น สร้างโรงงานข้างๆ ที่ดินเรา, ทำฟาร์มเลี้ยงไก่ส่งกลิ่นเหม็น, ส่งเสียงดังน่ารำคาญเป็นประจำ เป็นต้น แบบนี้ก็สามารถที่จะร้องให้ระงับการกระทำนั้นๆ ได้ อีกทั้งอาจยังสามารถเรียกค่าเสียหายได้อีกด้วย

ตัวอย่างที่แสดงว่าได้รับความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  796/2552  เรื่องนี้ จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินเดิมจำนวนสองแปลง โดยจำเลยได้ปลูกบ้านคร่อมลงบนที่ดินทั้งสองแปลง ต่อมาที่ดินถูกบังคับคดีนำมาขายทอดตลาด โจทก์ซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาด ปรากฏว่ามีส่วนของบ้านจำเลยตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยรื้อถอนออกไป

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายอื่น ๆ ได้ที่ กฎหมาย EIA สำคัญอย่างไรต่อการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  796/2552  เรื่องนี้ จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินเดิมจำนวนสองแปลง โดยจำเลยได้ปลูกบ้านคร่อมลงบนที่ดินทั้งสองแปลง ต่อมาที่ดินถูกบังคับคดีนำมาขายทอดตลาด โจทก์ซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาด ปรากฏว่ามีส่วนของบ้านจำเลยตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยรื้อถอนออกไป

แดนกรรมสิทธิ์คืออะไร ?

         ซึ่งเรื่องนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1653 ตำบลพุขาม อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 26285 ตำบลพุขาม อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่ 37 ตารางวา เป็นของจำเลย โดยด้านทิศเหนืออยู่ติดกับที่ดินของจำเลยตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1898 จำเลยได้สร้างบ้านและสิ่งปลูกสร้างคร่อมบนที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว ต่อมาที่ดินพิพาทถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์นำออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1400/2541 ของศาลชั้นต้น โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดปรากฏว่า มีบ้านและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยบางส่วนอยู่ในที่ดินพิพาท คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทหรือไม่ เห็นว่า ขณะจำเลยปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินพิพาทและบนที่ดินของจำเลยอีกแปลงหนึ่งที่อยู่ติดกันนั้น จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ กรณีจึงมิใช่เป็นการปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ครั้นต่อมาเมื่อที่ดินพิพาทถูกบังคับคดีนำออกขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด แม้โจทก์จะรู้หรือไม่รู้ว่ามีบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาท แต่ที่ดินพิพาทก็เป็นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต สิทธิของโจทก์ที่ได้ที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดย่อมไม่เสียไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดแล้ว ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า โจทก์ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดิน เป็นคุณแก่จำเลย โดยยอมให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของโจทก์ต่อไป และโจทก์ในฐานะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินและมีสิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผลกับมีสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1335 และมาตรา 1336 เมื่อโจทก์ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ประสงค์จะให้จำเลยปลูกบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินโจทก์อีกต่อไป และบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกจากที่ดินพิพาทแล้วจำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการละเมิดทำให้โจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีอำนาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตอย่างใด และกรณีมิใช่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีอันจะต้องอาศัยเพียงบท กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดีตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำ ศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้เป็นพับ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องโฉนดที่ดินได้ที่ โฉนดที่ดินหาย ชำรุด ควรทำอย่างไร คัดโฉนดที่ดินที่ไหน?

กฏหมายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และเรานั้นสามารถพบเจอได้ทั่วไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน การศึกษากฏหมายเป็นเรื่องที่สำคัญ และไม่ควรมองข้าม สำหรับท่านใดที่ต้องการปรึกษาปัญหาทางด้านกฏหมายสามารถสอบถามข้อมูลมาได้ที่ Line@bnlaw และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook B.N. Law