ขั้นตอนการขออนุญาตสร้างอาคารต้องทำอย่างไร?

ใคร ๆ ก็อยากมีบ้านแต่นอกจากต้องมีเงินสำหรับสร้างบ้านแล้ว ยังควรที่จะศึกษาขั้นตอนการยื่นเอกสารเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างอีกด้วย หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าก่อนจะสร้างบ้านหรืออาคารต่าง ๆ จะต้องมีการดำเนินการยื่นเอกสารเพื่อขออนุญาตจากหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ซึ่งเป็นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและชุมชนรอบข้าง ซึ่งรายละเอียดการเตรียมเอกสารและขั้นตอนต่าง ๆ มีดังนี้
เอกสารที่ต้องเตรียม
คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1)
เอกสารแปลนบ้าน แบบบ้าน และรายละเอียดการก่อสร้าง ที่ได้มาตรฐานมีสถาปนิกและวิศวกรเป็นผู้เซ็นรับรองแบบ
หนังสือรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน ผู้ควบคุมและเอกสารจากวิศวกรงานก่อสร้าง
สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง หรือเอกสารสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของที่ที่ดินผืนนั้น
สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร
ขั้นตอนการดำเนินการขออนุญาตการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง
1. ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคารกับสำนักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่นั้น ๆ
ตามกฎหมายควบคุมอาคารต้องดำเนินการยื่นเอกสารที่สำนักงานเขต หรือเทศบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับการปกครองของพื้นที่เขตนั้นว่าเป็นการปกครองของหน่วยงานใด
2. สำนักงานเขตหรือเทศบาลตรวจสอบแบบแปลน
เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบรายละเอียดเอกสารคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารก่อนดำเนินการก่อสร้าง
3. รับหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้าง
หากได้รับอนุญาตจะได้รับหนังสืออนุญาตแล้วจึงสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้น อาจจะมีการให้แก้ไขรายละเอียดบางจุด ซึ่งก็ต้องดำเนินการแก้ไข และยื่นขออนุญาตอีกครั้ง
4. ได้ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
เมื่อได้รับหนังสือขออนุญาตก่อสร้างอาคารแล้ว ควรทำสำเนาทั้งเก็บไว้หลายฉบับเพื่อส่งมอบให้แก่สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา บริษัทรับสร้างบ้าน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เพื่อใช้ในการดำเนินการก่อสร้างบ้าน
5. การร้องเรียนระหว่างดำเนินการก่อสร้าง
หากระหว่างการก่อสร้างนั้นได้รับการร้องเรียนจากเพื่อนบ้าน หรือชุมชนใกล้เคียง ทางหน่วยงานภาครัฐอาจมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้างชั่วคราว จนกว่าขั้นตอนทางกฎหมายจะแล้วเสร็จจึงจะมีคำสั่งว่า จะให้ก่อสร้างต่อ หรือให้หยุดก่อสร้างถาวร
เนื่องจากการก่อสร้างอาคารนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของหลายบุคคล ขั้นตอนในการดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างอาคารจึงค่อนข้างละเอียด ซึ่งหากศึกษาข้อกฎหมายไม่ถี่ถ้วนก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดไม่ได้รับอนุญาต และต้องเสียเวลาในการยื่นขอคำอนุญาตใหม่อีกครั้ง หากต้องการที่ปรึกษาทนายในข้อกฎหมายอาคารเพื่อการดำเนินการยื่นขออนุญาตและการเตรียมเอกสารขออนุญาตการก่อสร้าง สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *