ความหมายของกฏหมาย
กฏหมายหมายถึง กฎที่สถาบัน หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
กฏหมายแพ่งหมายถึง
เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก แต่งงาน
กฏหมายอาญา
เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดเป็นความผิดและมีการกำหนดโทษที่จะลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม
กฏหมายเกี่ยวกับบุคคล
บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
การสาบสูญ หมายถึง การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
การตาย หมายถึง การสิ้นสภาพบุคคลโดยธรรมชาติ บุคคลจะถึงแก่ความตายตามธรรมชาติ เมื่อหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น
บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
หมายถึง บุคคลธรรมดา ได้แก่มนุษย์ทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง หรือผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นคนโง่หรือคนฉลาด คนดีหรือคนบ้า ก็เป็นบุคคลธรรมดา
ส่วนปนะกอบของสภาพบุคคลได้แก่
- ชื่อ
- ภูมิลำเนา
- สถานะ
- ความสามารถ
หมายถึง บุคคลคือสิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย มนุษย์ทุกคนเป็นบุคคล แต่บุคคลมิใช่มีแต่เฉพาะมนุษย์เท่านั้น ยังมีสิ่งอื่นที่เป็นบุคคลด้วย สิ่งนั้นคือนิติบุคคล นิติบุคคลประกอบไปด้วย6
ทรัพย์และทรัพย์สิน
หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง
หมายถึง หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้
อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง เป็นทรัพย์ที่เคลื่อนไหวไม่ได้
สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ทั้งหลายที่เคลื่อนที่ได้ โดยไม่เสียรูปทรง
นิติกรรม
การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
- นิติกรรมที่เป็น โมฆะ หมายถึง นิติกรรมที่เสียเปล่าอย่างถาวร ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันกันตามกฎหมาย ดังนั้นถึงไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนหนึ่งคนใดจะยกเอาความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
- นิติกรรมที่เป็น โมฆียะ หมายถึง อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมีการให้สัตยาบัน
ดังนั้น โมฆียกรรม จึงหมายความว่า นิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายตั้งแต่ทำนิติกรรมจนกว่าจะถูกบอกล้างซึ่งหากถูกบอกล้างก็จะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ ย้อนไปถึงขณะเริ่มทำนิติกรรม
สัญญาต่าง ๆ และประเภทของสัญญา
สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
- คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
- สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
- สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว
สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
- สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน
- สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
- สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
- การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ
– ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้
– ผู้ทอดตลาด
– ผู้สู้ราคา
– ผู้ซื้อ
สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น
- สัญญาเช่าทรัพย์
– ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ
– ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
- สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย
สัญญากู้ยืมเงิน
เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ
กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต
ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น
- สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส
- สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส
การสิ้นสุดการสมรส
- ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม
- การหย่า
– สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร
– สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน
กฎหมายเรื่องมรดก
มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท
- ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท
- ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้
พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์
กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
- กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
- กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม
- กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
– เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
– เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
– เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
- กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน
– บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่ 7 ปี จนถึงอายุ 70 ปี และนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาอีกครั้งในวันนี้ (7 เมษายน) นั้น ล่าสุด ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ตามที่วุฒิสภาแก้ไขด้วยคะแนนเสียง 304 ต่อ 2
– การเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น
– บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน
– บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70 ปี ขึ้นไป
- กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
– ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
– เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด
*บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
- กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
– พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
– พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
– พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522
กฏหมายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และเรานั้นสามารถพบเจอได้ทั่วไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน การศึกษากฏหมายเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม สำหรับท่านใดที่ต้องการปรึกษาปัญหาทางด้านกฏหมายสามารถสอบถามข้อมูลมาได้ที่
Line@bnlaw และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่างๆของเราได้ที่ Facebook
B.N. Law