เมื่อปลายปี 2566 มีข่าวแว่ว ๆ มาว่าประกันสังคมจะมีการปรับอัตราเงินสมทบ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้กระทรวงแรงงานได้มีการนำเสนอร่างการปรับอัตราการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนให้เหมาะสมกับยุคสมัย
กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2538) ออกตามความใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตน มาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. 2538 จนถึงปัจจุบัน โดยมีอัตราการจ่ายเงินสมทบฯ ดังนี้
- เงินเดือน 5,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 250 บาท
- เงินเดือน 10,000 บาท จ่ายเงินสมทบ 500 บาท
- เงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จ่ายเงินสมทบ 750 บาท
สำหรับเงินสมทบประกันสังคม ปี 2567 ที่จะมีการปรับขึ้นจาก 750 บาท ตามที่กระทรวงแรงงานได้ร่างไว้มีอัตราการปรับเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 – 31 ธ.ค. 2569 เพดานเงินสมทบอยู่ที่ 875 บาท/เดือน
- ระยะที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2570 – 31 ธ.ค. 2572 เพดานเงินสมทบอยู่ที่ 1,000 บาท/เดือน
- ระยะที่ 3 : ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2573 เป็นต้นไป เพดานเงินสมทบอยู่ที่ 1,150 บาท/เดือน
ซึ่งการปรับเพดานเงินสมทบประกันสังคมในครั้งนี้ เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 กำหนดให้ปรับเพดานเงินสมทบทุก ๆ 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
โดยทางประกันสังคมได้มีการชี้แจงว่า ‘สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ’ นั้นมีการปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินสมทบที่จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย อาทิเช่น เงินว่างงาน เพิ่มเป็นเดือนละ 8,750 บาท จากเดิม 7,500 บาท เป็นต้น
แต่ในทางกลับกันอัตราเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับนายจ้างด้วยเช่นกัน และอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจในการจ้างงานพนักงานที่มีฐานเงินเดือนสูงกว่า 15,000 บาทขึ้นหรือไม่ อาจจะต้องรอดูผลกระทบในอนาคตกัน
ติดตามข่าวสารความรู้หรือปรึกษาเรื่องกฎหมาย Balance Niti Law Firm พร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอน สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm