ประเทศไทยยุค 5G สมัยนี้ไม่ต้องเซ็นต์ชื่อบนกระดาษก็มีผลทางกฎหมายได้ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปการจัดทำหนังสือสัญญาหรือข้อตกลงสำคัญที่ต้องปริ้นออกมาเป็นรูปแบบเอกสารอาจจะไม่ตอบโจทย์กับยุคสมัยในปัจจุบัน การเซ็นต์ชื่อบนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกง่าย ๆ ว่า “e-signature” นั้นมีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการเซ็นต์ลงอกระดาษ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
ระบุไว้ว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น”
เนื่องจากอินเตอร์เน็ตมีบทบาทกับชีวิตมากขึ้น แม้แต่เอกสารยังอยู่ในรูปแบบของ E-Document ดังนั้นในการเซ็นต์ชื่อเพื่อทำข้อตกลงหรือเอกสารสัญญาใด ๆ ที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์ออนไลน์ เรียกว่า “E-signature” ซึ่งมีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับการเซ็นต์ชื่อลงในกระดาษทุกประการ โดยแบ่งเป็น 3 แบบ
1. E-signature แบบทั่วไป: ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบเป็นอักษร อักขระตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้าง ขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีลักษณะตามที่กําหนดในมาตรา 9 แห่งกฎหมายว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- ระบุเจ้าของลายมือชื่อได้ว่าเป็นใคร
- การระบุเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อต่อข้อความที่ลงนาม
- ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้
2. E-signature แบบที่ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้: เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะตามที่กําหนดใน มาตรา 26 แห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ลายมือชื่อดิจิทัลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐาน กุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure : PKI)
- ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อได้
- ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่อ อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อ
- สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่อ/ข้อความ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้น
3. E-signature แบบใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง: ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะตามที่กําหนดในมาตรา 26 และมีการออกใบรับรองจากผู้ให้บริการเพื่อรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดในมาตรา 28 กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ลายมือชื่อดิจิทัลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐาน กุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure : PKI) และใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบนรับรอง
ข้อกฎหมายนั้นมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิตอลที่ชีวิตประจำวันมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และข้อมูลอิเล็กทรอนิดส์ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น หวังว่ากฎหมายชวนรู้จะเป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ ที่เป้นประโยชน์กับทุกคน หากต้องการปรึกษาเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย และเกร็ดความรู้เรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm