ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการใช้พลังงานต่าง ๆ อย่างสิ้นเปลืองของมนุษย์ ปัจจุบันจึงต้องมีการหาแหล่งพลังงานทดแทนและรณรงค์การลดใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไปให้น้อยลง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจึงได้ออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคารเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประหยัดพลังงานงานเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
กฎหมายอาคารอนุรักษ์พลังงาน (Building Energy Code หรือ BEC) คือ มาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 โดยในแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (Energy Efficiency Plan: EEP2018) โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มีผลบังคับใช้กับอาคาร 9 ประเภทตามขนาดพื้นที่ของอาคารที่กำหนด
- อาคารที่มีขนาดพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564
- อาคารที่มีขนาดพื้นที่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2565
- อาคารที่มีขนาดพื้นที่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566
อาคาร 3 กลุ่ม 9 ประเภทตามกฎหมาย BEC
1. กลุ่มที่ 1 ใช้พลังงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
- สถานศึกษา
- สำนักงาน หรือที่ทำการ
2. กลุ่มที่ 2 ใช้พลังงานไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง
- ห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้า
- สถานบริการ
- โรงมหรสพ
- อาคารชุมนุมคน
3. กลุ่มที่ 3 ใช้พลังงานไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- สถานพยาบาล
- อาคารชุด
- โรงแรม
การใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่าง ๆ ของอาคาร พ.ศ. 2564 มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 6 ระบบ ดังนี้
- ระบบเปลือกอาคาร (OTTV, RTTV)
- ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (LPD)
- ระบบปรับอากาศ
- อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน
- การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร
- การใช้พลังงานหมุนเวียน
หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคารของกฎหมาย BEC ค่อนข้างจะมีความยุ่งยากซับซ้อน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้พัฒนาโปรแกรม Building Energy Code (BEC) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือคำนวณค่าการอนุรักษ์พลังงานตามเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ >> https://2e-building.dede.go.th/content/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3-bec-v106
กฎหมาย BEC ยังเป็นกฎหมายใหม่ที่หลาย ๆ คนยังไม่รู้จักอย่างแพร่หลาย แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการสร้างอาคารต่าง ๆ ควรศึกษาข้อมูลกฏหมาย BEC อย่างระเอียด เพื่อความสะดวกในการทำงานในอนาคต หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: https://bec.dede.go.th/