ยุคสมัยที่หลาย ๆ คนหันมาทำธุรกิจส่วนตัวกันมากขึ้น โดยเฉพาะนักธุรกิจมือใหม่ที่ยังไม่ชำนาญเรื่องกฎหมายภาษี การจะทะเบียนมูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่รู้จักกันว่า VAT 7% นั้นมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างไร? นักธุรกิจมือใหม่ต้องศึกษาหาข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ในปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% โดยมักจะบวกเพิ่มจากค่าบริการที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป
กฎหมายสำหรับการการจด VAT
กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรายได้ที่กล่าวถึงคือยอดขายหรือรายรับจริง ๆ ที่ยังไม่หักต้นทุนหรือกำไร หากผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประกอบกิจการโดยไม่ทำการจดทะเบียน จะมีโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 1 เดือน/ปรับ 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อดีของการจด VAT 7%
1. ขอคืนภาษีซื้อได้
บริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะสามารถขอคืนภาษีที่จ่ายไปในการใช้บริการจากที่อื่นได้ โดยต้องเก็บหลักฐานในการซื้อหรือใช้บริการ และนำมาดำเนินการขอภาษีคืนภายหลัง
2. การจัดการบัญชีเป็นระบบ ตรวจสอบได้ง่าย
เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทจะต้องจัดทำรายงานทางบัญชีเพื่อยื่นให้กรมสรรพกร จึงต้องมีการเก็บเอกสารใบกำกับภาษีอย่างเป็นระบบทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบ และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. เพิ่มโอกาสในการขาย ปิดการขายได้ง่าย
ลูกค้าส่วนมากต้องการใบกำกับภาษีโดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นในนามบริษัท เพื่อนำใบกำกับภาษีไปลดภาระภาษีเช่นกัน จึงทำให้บริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่านั้นเป็นตัวเลือกแรก ๆ สำหรับลูกค้านั่นเอง
4. กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
การจด VAT เป็นเหมือนเครื่องหมายยืนยันว่าบริษัทoyhoมีตัวตนอยู่จริง เชื่อถือได้ เพราะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับการตรวจสอบจากกรมสรรพากร และมีชื่ออยู่ในระบบของสรรพากรจึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้ามากยิ่งขึ้น
ข้อเสียของการจด VAT 7%
- ราคาสินค้าหรือบริการแพงขึ้น หลังจากการบวก VAT 7%
- ต้องทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และยื่นแบบ ภ.พ.30 ให้กับกรมสรรพากรทุกเดือน
- ต้องรู้รายละเอียดในการออกใบกำกับภาษีตามกฎหมาย
การทำธุรกิจนั้นมักจะมีรายละเอียดเล็ก ๆ ที่ต้องใส่ใจซ่อนอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของภาษีที่ดูเหมือนจะเป้นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เป็นเรื่องทำสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ หากต้องการทีมงานที่เชี่ยวชาญในเรื่องของกฎหมายภาษี การดำเนินงานทางด้านเอกสาร และการร่างเอกสารกฎหมายทางธุรกิจ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm