ขายฝาก VS จำนองแตกต่างกันอย่างไร

การทำเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้มีเพียงเอกสารสัญญาซื้อขายเพียงเท่านั้น แต่ยังมีเอกสารสัญญาจำนองและเอกสารสัญญาขายฝากที่มักจะพบเห็นและเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์บ่อย ๆ ซึ่งเอกสารสัญญาทั้ง 2 ประเภทนี้มีจุดประสงค์ที่ใช้แตกต่างกัน

 

“สัญญาจำนอง” คือ สัญญากู้เงินที่ใช้หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ แต่จะไม่มีการโอนทรัพย์สิน เป็นแค่การนำทรัพย์สินนั้นไปจดทะเบียนเพื่อตราไว้เป็นหลักประกันเท่านั้น โดยจะต้องทำสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดิน

  • ลูกหนี้ไม่ต้องโอนทรัพย์สินให้เจ้าหนี้
  • วงเงินให้กู้ประมาณ 10 – 30% จากราคาประเมินของหลักประกัน
  • เสียค่าธรรมเนียมอัตรา 1% จากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

 

“สัญญาขายฝาก” คือ สัญญากู้เงินที่ใช้หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ โดยลูกหนี้จะทำการขายทรัพย์สินหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้กับเจ้าหนี้ก่อนรับเงิน แต่มีข้อตกลงเพิ่มเติมว่า ลูกหนี้สามารถซื้อทรัพย์สินคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดกันไว้ แต่ไม่เกิน 10 ปีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี โดยจะต้องทำสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดิน

  • ลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินให้เจ้าหนี้ แต่สามารถซื้อคืนได้ในเวลาที่กำหนด
  • วงเงินให้กู้ประมาณ 40 – 70% จากราคาประเมินของหลักประกัน
  • เสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด

 

ในช่วงยุคเศรษฐกิจที่ต้องการเงินหมุนเวียนสำหรับการลงทุนหรือธุรกิจ หากมีอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอยู่ในมือก็สามารถนำไปเป็นหลักประกันเพื่อนำเงินมาหมุนเวียนก่อนได้ แต่อาจจะต้องเลือกลักษณะการทำสัญญาที่เหมาะสม และต้องเลือกเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินที่จะให้บริการที่น่าเชื่อถือได้ 

 

หากต้องการทนายความเพื่อร่างสัญญาเงินกู้หรือตรวจสอบหนังสือสัญญาต่าง ๆ  รวมทั้งปรึกษาข้อกฎหมายหรือดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.dol.go.th/Documents/law/law6206.pdf

https://www.smartfinn.co.th/article/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *