ลิขสิทธิ์ VS สิทธิบัตร ต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันมั้ยเอ่ย? ว่าประเภทของโมเดลธุรกิจหรือสินค้าที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นควรจดแจ้งเพื่อขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแบบลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรจึงจะเหมาะสม แม้ว่าว่า ‘ลิขสิทธิ์’ และ ‘สิทธิบัตร’ เป็นคำที่นักลงทุนหรือหลาย ๆ คนคุ้นเคย แต่เชื่อว่ายังไม่คนที่ไม่ทราบว่าทั้ง 2 คำนี้แตกต่างกันอย่างไร?

 

สิทธิบัตร (Patent)

หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองและสิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาด ในการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การผลิตและจำหน่าย เป็นต้น

 

สิทธิบัตร 3 ประเภท

  1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น
  2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น
  3. อนุสิทธิบัตร (Petty patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

 

ลิขสิทธิ์ (Copyright)

หมายถึง สิทธิคุ้มครองงานสร้างสรรทุกประเภท ซึ่งได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างขึ้นโดยไม่ต้องจดทะเบียน เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่าง แต่กฎหมายให้ความคุ้มครองทันทีโดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียว ในผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มของตนเอง

 

ลิขสิทธิ์ 9 ประเภท

  1. งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
  2. งานนาฎกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)
  3. งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
  4. งานดนตรีกรรม (ทำนอง , ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
  5. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี )
  6. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
  7. งานภาพยนตร์
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

ลิขสิทธิ์ VS สิทธิบัตร

  • ลิขสิทธิ์คุ้มครองการสร้างงานศิลปะและวรรณกรรม สิทธิคุ้มครองเกิดขึ้นทันทีโดยไม่ต้องยื่นขอสิทธิ
  • สิทธิบัตรคุ้มครองการประดิษฐ์และการผลิต ซึ่งต้องมีการดำเนินลงทะเบียนโดยการยื่นขอสิทธิบัตรจะมีองค์กรสิทธิบัตรระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศภายใต้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นผู้พิจารณา
  • ลิขสิทธิ์มีอายุประมาณ 60 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทและเงื่อนไขของผลงาน
  • สิทธิบัตรประมาณ 20 ปี นับจากวันที่ยื่นขอซึ่งต้องชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุทุกปี หากไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดสิทธิจะหยุดการคุ้มครอง

 

จากข้อมูลเบื้องต้นทั้ง ‘ลิขสิทธิ์’ และ ‘สิทธิบัตร’ นั้นเป็นความคุ้มครองเพื่อปกป้องสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาจากรัฐบาล เมื่อพิจารณาแล้วว่าผลิตภัณฑ์ ความคิด หรือผลงานของตนเองนั้นเข้าข่ายความคุ้มครองประเภทใด สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อขอความคุ้มครองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้สมบูรณ์ หากต้องการปรึกษาขั้นตอนในการขอยื่นจดแจ้งหรือลงทะเบียนใด ๆ ที่เกี่ยวของกับกฎหมาย ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://tgcthailand.com/difference-between-trademarks-patents-copyrights/

https://th.gadget-info.com/difference-between-copyright

https://www.ip-thailand.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7/#:~:text=%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%20%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%20%E2%80%9C%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87,%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E2%80%9D

http://www.digitalschool.club/digitalschool/social1_1_1/social1_3/more/page14.php

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *