บ้านดูเก่าโทรมแต่โครงสร้างบ้านยังคงแข็งแรง ฟังก์ชั่นของบ้านไม่ตอบโจทย์กับการอยู่อาศัยอยากปรับเปลี่ยน เคยชินกับสิ่งแวดล้อมแต่อยากปรับปรุงบ้านให้ดูดีขึ้น การรีโนเวทบ้านจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการซื้อบ้านใหม่ แต่การรีโนเวทบ้านนั้นต้องมีการขออนุญาตในบางส่วนตามข้อกำหนดของกฎหมายตามกฎหมาย พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
การรีโนเวทไม่ต้องขออนุญาต
การรีโนเวทเล็กภายในบ้าน หรือเป็นการดัดแปลง เพิ่มเติม ที่ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างบ้าน
- การต่อเติมโครงสร้างโดยใช้วัสดุเดิมที่มีขนาด จำนวน และชนิดเดียวกัน เช่น การเปลี่ยนพื้นหรือผนังไม้มีการชำรุดซ่อมแซมโดยใช้ไม้แบบเดิม ไม่ได้เปลี่ยนชนิดจากพื้นไม้เป็นพื้นคอนกรีต เป็นต้น
- การรีโนเวทส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ใช่โครงสร้างของบ้าน โดยมีน้ำหนักเพิ่มเติมจากเดิมไม่เกิน 10% ของน้ำหนักอาคาร
- การเปลี่ยนแปลงขนาด รูปทรง ส่วนประกอบอาคาร เช่น ประตู หน้าต่าง ฝ้าเพดาน โดยมีน้ำหนักเพิ่มเติมไม่เกิน 10 %
- การเพิ่มขนาดพื้นที่ของชั้นบ้าน และการต่อเติมส่วนของหลังคาไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่มีการเพิ่มเติมหรือลดทอนเสาคาน
การรีโนเวทบ้านต้องขออนุญาต
เจ้าของบ้านจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะตรวจพิจารณาและแจ้งผลการตรวจพิจารณาภายใน 30 วัน
- เพิ่ม เติม ลด ขยาย ลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก ที่ไม่ใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนด
- การรเพิ่ม ลด เปลี่ยนเสา คาน บันได ผนัง หรือส่วนใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างบ้าน
- การรีโนเวทส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ใช่โครงสร้างของบ้าน โดยมีน้ำหนักเพิ่มเติมจากเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักอาคาร วิศวกรต้องดำเนินการคำนวณน้ำหนักโครงสร้างและแจ้งขออนุญาตฯ
บทลงโทษของการฝ่าฝืนรีโนเวทบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อบังคับกฎหมายด้านบนเป็นเพียงข้อกฎหมายหลักที่คนอยากรีโนเวทบ้านต้องทำตาม แต่ยังมีข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่ควรศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานที่ วัตถุประสงค์ และประเภทของอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการรีโนเวท อาทิเช่น
- ข้อกำหนดระยะร่นและที่ว่างอาคาร
- กฎหมายสิ่งแวดล้อม
- กฎหมายผังเมือง โซนสี
การรีโนเวทบ้านนั้นเป็นการใช้ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าช่วยประหยัดงบประมาณและเวลา แต่ต้องทำตามขั้นตอนกฎหมายควบคุมอาคารเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย เพียงศึกษาข้อมูลกฏหมายพื้นฐานหรือกฎหมายต่าง ๆ ก่อนสักเล็กน้อยเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต หากมีข้อสงสัยหรือหรือการดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
https://www.baanlaesuan.com/214294/maintenance/renovation-law