5 ประเภทหนังสือสัญญา ที่ควรร่างด้วยทนายความ

การดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย, การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรืออื่น ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเจรจาตกลงเรื่องธุรกิจ ก็คือ “หนังสือสัญญา” ที่จะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไข ข้อตกลง ผลประโยชน์ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หนังสือสัญญาธุรกิจแต่ละประเภทนั้นมีจุดประสงค์ในการทำสัญญาแตกต่างกัน จึงควรให้ผู้มีความรู้ทางกฎหมายหรือทนายความเข้ามาดูแลเพื่อความถูกต้องของรายละเอียดในหนังสือสัญญา

 

สัญญาซื้อขาย

คือ สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ “ผู้ซื้อ” และ “ผู้ขาย” ตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย โดยจะมีการโอนความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ สำหรับการชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป้นไปตามตกลงที่ระบุในหนังสือสัญญาของทั้ง 2 ฝ่าย

 

สัญญาจ้างงาน

คือ สัญญาระหว่างผู้ใช้แรงงานกับกิจการ องค์กร หรือหน่วยงานผู้ว่าจ้าง การกำหนดความรับผิดชอบ สิทธิ และหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย โดยต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายแรงงาน รวมทั้งระบุเงื่อนไขต่าง ๆ สำหรับแรงงานเช่น สิทธิประกันสังคม ประกันหลุ่ม กองทุน หรือประโยชน์ด้านต่าง ๆ แก่พนักงานลงในหนังสือสัญญาอย่างชัดเจน

 

สัญญากู้ยืมเงิน

คือ สัญญาทางแพ่งประเภทหนึ่งที่มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีโดยมี “ผู้กู้” ตกลงกู้ยืมเงินจากอีกฝ่ายเรียกว่า “ผู้ให้กู้” โดยผู้กูจะชดใช้เงินที่มีมูลค่าเท่าเทียมให้แก่ผู้ให้กู้ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในหนังสือสัญญา และอาจจะมี “ดอกเบี้ย” เป็นผลตอบแทนให้กับผู้ให้กู้ตามแต่ตกลง ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนั้นต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีตามที่กฎหมายกำหนด

 

สัญญาจำนอง

คือ สัญญาที่ผู้จำนองใช้อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยผู้จำนองจะต้องเป็นเจ้าของอสังหริมาทรัพย์นั้นและการสัญญาจำนองนี้จะต้องไปทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น

 

สัญญาจำนำ

คือ สัญญาที่ผู้จำนำใช้สิ่งของที่เคลื่อนที่ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ เครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยหลักทรัพย์ที่นำมาจำนำต้องมีผู้จำนำเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น

 

หนังสือสัญญาแต่ละประเภทนั้นมีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ที่ร่างสัญญาจึงควรเป็นผู้มีความรู้ทางกฎหมายอย่างเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในการเป็นทนายความเพื่อให้ข้อตกลงเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายตามสัญญาแต่ละประเภท รวมทั้งในการตรวจหนังสือสัญญาที่ร่างขึ้นมาก็ควรเป็นทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ร่วมดำเนินธุรกิจทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม 

 

หากนักธุรกิจท่านใดต้องการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหนังสือสัญญาและข้อกฎหมายอื่น ๆ รวมทั้งการดำเนินการทางด้านกฎหมายต่าง ๆ Balance Niti สำนักงานกฎหมายโดยนักกฎหมายผู้มีประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำ และดำเนินงานกฎหมายให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างราบรื่นและถูกต้อง สนใจพูดคุยหรือสอบถามสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.cpao.go.th/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/72-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html 

http://abt.in.th/_files_aorbortor/011514/uploads/files/20181009151525_62872.pdf

https://thaibizchina.com/trade-investment-china/regulations/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/#:~:text=%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81,%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%20%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1

https://balanceniti.com/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a0%e0%b8%97%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%9e%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%ad/

https://www.gotoknow.org/posts/301187

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *