ในยุคที่ใคร ๆ ก้สามารถเป็นผู้ประกอบการได้ นอกจากต้องศึกษาเพี่ยวการข้อมูลของธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการควรต้องรู้จักข้อกฎหมายหลัก ๆ ที่เกี่ยวของกับการทำธุรกิจด้วย เพื่อระวังไม่ให้ทำผิดกฎหมายและไม่โดนเอารัดเอ่เปรียบจากผู้อื่น
กฎหมายองค์กรธุรกิจ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมธุรกิจ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมสัญญา หนี้ และเอกเทศสัญญา กฎหมายว่าด้วยหลักประกันสินเชื่อ กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน การคุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม กฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ และการระงับข้อพิพาททางธุรกิจ ซึ่งกฎหมายองค์กรธุรกิจหรือที่หลายๆ คนรู้จักกันในชื่อ “หุ้นส่วนบริษัท” มีอยู่ด้วยกัน 2 ฉบับ
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะที่ 22 ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535
- พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499
กฎหมายภาษี
สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้ซึ่งรวมถึงเจ้าของธุรกิจเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม อาทิเช่น
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีป้าย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- ภาษีการรับมรดก
- ภาษีทรัพย์สินต่าง ๆ
อีกทั้งยังมีภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องภาคทำธุรกิจ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือภาษีสรรพสามิต เป็นต้น ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลัก ๆ มี 2 ฉบับ คือ
- กฎหมายประมวลรัษฎากร
- พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
กฎหมายแรงงาน
กฎหมายพื้นฐานที่ระบุถึงสิทธิของลูกจ้างและนายจ้างไว้อย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งมีการกำหนดสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับลูกจ้างไว้อย่างชัดเจน เช่น ระยะเวลาการทำงาน วันหยุด ค่าแรง ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งเจ้าของธุรกิจที่เป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้อง ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยงข้องกับแรงงานมีหลายฉบับด้วยกัน เช่น
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพที่ 3 ลักษณะ 6 ว่าด้วยจ้างแรงงาน หรือในรูปของพระราชบัญญัติ
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
- พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537
- พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
- ประกาศสำคัญต่าง ๆ
กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค
กฎหมายที่ผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะได้รับรู้ถึงคุณภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ และมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ หากผู้บริโภครู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในสินค้าหรือบริการจะมีสิทธิ์ฟ้องร้องและพิจารณาขอชดเชยความเสียหายจากผู้ประกอบการ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยงข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคมีหลายฉบับด้วยกัน เช่น
- กฎหมายคุ้มครองเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงสาธารณสุข
- พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
- พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงพาณิชย์
- พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
หากต้องการผู้เช่วยด้านกฎหมายในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปรึกษาข้อกฎหมายหรือดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: https://ms.udru.ac.th/FNresearch/assets/pdf/ch01.pdf
https://sites.google.com/site/muakleksuminta/7