โพสต์ไม่คิด ระวังผิดกฏหมาย!

ในยุคที่สังคมเชื่อมต่อกันได้ง่ายเพียงปลายนิ้วด้วยสัญญาณอินเตอร์เน็ต แต่ก่อนจะพิมพ์หรือโพสต์พาดพิงใครบนโลกออนไลน์ได้โปรดหยุดคิดและไตร่ตรองสักนิด เพราะการโพสต์ข้อความไม่สุภาพ โพสต์ข้อความด่าทอ หรือข้อความไม่ดีต่าง ๆ นั้นอาจจะเข้าข่ายฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นได้ แม้ในโลกออนไลน์การโพสต์แสดงความคิดเห็นทำได้อย่างอิสระ แต่หากมีการพาดพิงถึงบุคคลที่สามในเชิงไม่ดี เจ้าตัวสามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายฐานหมิ่นประมาทได้เช่นกัน

การหมิ่นประมาทออนไลน์ผิดกฏหมายข้อใดบ้าง?

การหมิ่นประมาทผู้อื่นทางอินเทอร์เน็ต ถือเป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยการหมิ่นประมาทด้วยโฆษณา ดังต่อไปนี้

  • มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เงินประกัน 10,000 – 20,000 บาท)
  • มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษรกระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เงินประกัน 100,000 บาท)

ก่อนหน้านี้การหมิ่นประมาทออนไลน์ มักจะมีการฟ้องร้องคู่มากับในความผิดตามมาตรา 14 (1) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แต่ปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ทำให้การหมิ่นประมาทออนไลน์ที่ไม่ได้มีองค์ประกอบความผิดอื่นตามมาตรา 14 (1) ก็ไม่ถือเป็นความผิดอีกต่อไป เพื่อให้ชัดเจนเรามาดูกันว่า มาตรา 14 ที่แก้ไขใหม่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2560 มีว่าอย่างไร

มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง () มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้

ผู้ที่โพสต์หมิ่นประมาทผู้อื่นโดยใช้แอคเคาท์ปลอมหรือแอคหลุมนั้น อาจจะชะล่าใจได้ว่าไม่สามารถตรวจสอบได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถขอตรวจสอบ IP ADDRESS จากเว็บไซต์ที่ทำการโพสต์เพื่อสืบย้อนหลังหาตัวบุคคลที่กระทำความผิดได้

โลกยุคออนไลน์มีประโยชน์มากมายหากใช้ในทางที่ถูกที่ควร พื้นที่อิสระที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้แต่ต้องให้ความเคารพซึ่งกันและกันกับผู้อื่นด้วย ก่อนโพสต์ข้อความใด ๆ ต้องคิดและไตร่ตรองให้ดีสักนิด เพราะถ้าโพสต์ไม่คิดอาจจะต้องเสียค่าปรับในจำนวนที่ไม่คาดคิดแทน เช่นคำกล่าวที่ว่า “รับคำขอโทษเป็นเงินเท่านั้น” หากต้องการดำเนินการฟ้องร้องในกรณีโดนหมิ่นประมาทออนไลน์โดยทนายผู้เชี่ยวชาญสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

เครดิต: https://www.sanook.com/campus/1404072/

https://www.nongmoo.go.th/webboard_detail.php?hd=1&id=801

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *