ชวนมาไขข้อข้องใจเคส PDPA กฎหมายใหม่สำหรับคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพราะความใหม่เอี่ยมของกฏหมายที่เพิ่งบังคับทำให้หลาย ๆ คนยังไม่คุ้นชิน จนอาจจะทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA ได้ วันนี้มาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PDPA ที่พบเจอบ่อย ๆ กันเถอะ
“PDPA = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”
- การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมมีความผิดมั้ย?
ตอบ หากรูปถ่ายหรือคลิปไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย ไม่ถือเป็นความผิด หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
- ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมมีความผิดมั้ย?
ตอบ หากใช้เพื่อเหตุผลส่วนตัว ไม่แสวงหากำไรทางการค้า และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่มีความผิด
- การติดตั้งกล้องวงจรปิด แต่ไม่มีป้ายแจ้งเตือน
ตอบ การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
- เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ใช่หรือไม่?
ตอบ ไม่จำเป็น ต้องมีการขอความยินยอมเมื่อใช้ข้อมูลดังกล่าว
(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
หมายเหตุ: อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณี ๆ ไป
- การแคปหน้าจอแชตไปโพสต์ในที่สาธารณะมีความผิดหรือไม่?
ตอบ สามารถโพสต์ได้ หากข้อความในแชตไม่มีการพาดพิงหรือหมิ่นประมาทบุคคลอื่นในทางเสียหาย
- หากนำเบอร์ผู้อื่นไปกรอกในเอกสารโดยไม่ได้รับความยินยอมมีความผิดหรือไม่
ตอบ มีความผิด เนื่องจากหมายเลขโทรศัพท์เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ PDPA ให้ความคุ้มครอง ไม่ควรละเมิดโดยการนำไปกรอกไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของหมายเลขฯ
หวังว่าว่าจะช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PDPA และเป็นเกร็ดความรู้กฎหมายเล็ก ๆ ที่อาจจะมีประโยชน์สำหรับทุกคน หากต้องการปรึกษาเรื่องเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย และเกร็ดความรู้เรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm