เล่าเรื่อง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า ฉบับเข้าใจง่าย!

การแข่งขันในเชิงธุรกิจที่ค่อนข้างสูงในปัจจุบันทำให้ต้องมีการควบคุมในเชิงกฏหมาย เพื่อคุ้มครองและป้องการละเมิดสิทธิสินค้าของกันและกัน โดยกฏหมายพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้านั้นเป็นการแสดงออกถึงว่าสินค้าของแบรนด์นี้มีความแตกต่างจากสินค้าชิ้นอื่นในชนิดเดียวกันอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งกฏหมายพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าไม่ได้บังคับเจาะจงว่าต้องขอจดแจ้งลงทะเบียนเพื่อขอเครื่องหมายการค้าเมื่อใด

 

ความหมาย “เครื่องหมายการค้า”

เครื่องหมาย สัญลักษณ์  ตราโลโก้ ยี่ห้อ ที่ใช้เพื่อแสดงว่ากับสินค้าหรือบริการของเจ้าของนั้นแตกต่างจากแบรนด์อื่น

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า

เจ้าของสินค้าหรือบริการต้องนำเครื่องหมายของสินค้าไปจดทะเบียน ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อใช้สิทธิคุ้มครองและป้องกันการโดนละเมิด หรือลอกเลียนแบบสินค้าในเชิงกฏหมาย

  • ลักษณะของเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
    • เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) คือ เครื่องหมายการค้านั้นต้องมีลักษณะที่ทำให้ผู้ใช้สินค้าเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น (มาตรา 7)
    • เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 6 (2) คือ ต้องไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะที่ห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 เช่น ธงชาติ เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยฯ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เป็นต้น
    • ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา 6 (3)
  • สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
    • เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่ยังมิได้จดทะเบียน แต่จะฟ้องร้องเพื่อป้องกันการละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้
    • เครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นผู้มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้านั้น (มาตรา 44)
    • สิทธิในการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าหรือโอนเครื่องหมายการค้าของตนให้บุคคลอื่น
    • สิทธิในการคัดค้านหรือขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น (มาตรา 35, 60)
    • สิทธิในการฟ้องร้องเพื่อป้องกันการละเมิดและเรียกค่าสินไหนทดแทน
    • สิทธิในการต่ออายุเครื่องหมายการค้าที่ตนเองเป็นเจ้าของ
  • อายุความคุ้มครองของเครื่องหมายการค้า 

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอายุความคุ้มครอง 10 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และ สามารถขอต่ออายุการคุ้มครองได้ทุก ๆ 10 ปี โดยต้องยื่นคำขอต่ออายุภายใน 3 เดือน ก่อนวันสิ้นอายุ หรือภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียน ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าเพิ่มเติม หรือต้องการทนายที่ปรึกษากฏหมายเพื่อดำเนินการทางกฏหมายในการถูกละเมิดสิทธิ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: http://www.ipthailand.go.th/th/tm-001.html

https://www.ipthailand.go.th/images/633/law_a2534-2-edit.pdf

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *