การสร้างสรรค์ผลงานในแต่ละชิ้นไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลาในการคิดออกแบบไม่ว่าจะเป็นงานประเภทใดก็ ตามในยุคดิจิตัลที่ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วจนบางครั้งเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่นออกไปบนสื่อออนไลน์ เช่น YouTube, Facebook, TikTok เป็นต้น แต่กฏหมาย พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 อาจจะยังไม่สามารถควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้มีการยกระดับกฏหมาย พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์เป็นฉบับที่ 5 พ.ศ. 2565 โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้เดือนสิงหาคม 2565
1.แจ้งนำออกการละเมิดงานลิขสิทธิ์โดยไม่ต้องผ่านศาลฯ
หากพบว่าผลงานของตัวเองโดยผู้อื่นนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าของผลงานสามารถติดต่อไปกับ IPS ได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องฟ้องร้องต่อศาลก่อนเพื่อเป็นการลดขั้นตอนและเพิ่มความรวดเร็วในการระงับการเผยแพร่งานละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างทันท่วงที
2. ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ
เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการและเจ้าของลิขสิทธิ์ในการส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมบนสื่ออินเตอร์เน็ต โดยแบ่งผู้ให้บริการเป็น 4 ประเภท
- ผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลาง
- ผู้ให้บริการในการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นการชั่วคราว
- ผู้ให้บริการในการรับฝากข้อมูลคอมพิวเตอร์
- ผู้ให้บริการในการสืบค้นแหล่งที่ตั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์
3. ขยายอายุการคุ้มครองภาพถ่าย
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้มครองภาพถ่าย 50 ปี โดยนับตั้งแต่ได้สร้างสรรค์งาน แต่กฏหมายฯ ฉบับปรับปรุงให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในโสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น และหากมีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลา 50 ปีนี้ จะขยายระยะเวลาคุ้มค้องไปอีก 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก เพื่อให้สอดคล้องกับภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Copyright Treaty)*
*WIPO Copyright Treaty : องค์กรระหว่างประเทศภายใต้องค์การสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
การปรับปรุงกฏหมาย พ.ร.บ ลิขสิทธิ์ให้มีความทันสมัยขึ้นการคุ้มครองที่รวดเร็วยิ่งขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย รวมทั้งเพื่อปรับตัวเข้ากับการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ในโลกของดิจิตัล และช่วยให้เจ้าของผลงานไม่เสียเปรียบข้อกฏหมายในเชิงธุรกิจ หากต้องการร่างสัญญาทางธุรกิจ หรือปรึกษาเรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: http://www.ipthailand.go.th/images/3534/2565/Copyright/ACT_CR65.pdf