ลงทุนธุรกิจต้องพิจารณา สัญญาธุรกิจเฟรนไชส์

การลงทุนธุรกิจมีมากมายให้เลือกสรรตามความเหมาะสม แต่หนึ่งในการลงทุนธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ “ธุรกิจเฟรนไชส์” เพราะเป็นการลงทุนที่สำเร็จรูปที่ค่อนข้างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งสิ่งสำคัญที่นักธุรกิจไม่ควรมองข้ามเด็ดขาดก็คือหนังสือสัญญาในทุก ๆ ธุรกิจ หนังสือสัญญาของแต่ละธุรกิจจะเนื้อหาที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวธุรกิจนั้น ๆ ดังนั้นนักลงทุนต้องพิจารณารายละเอียดอย่างถี่ถ้วน

 

ธุรกิจแฟรน์ไชส์ (Franchise) คืออะไร ?

  • แฟรนไชส์ซอร์ – ผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจ 
  • แฟรนไชส์ซี – ผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ

การประกอบธุรกิจโดยใช้รูปแบบ ระบบ ขั้นตอน และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของแฟรนไชส์ซอร์ โดยให้ผู้อื่นใช้เพื่อประกอบธุรกิจภายในระยะเวลาหรือเขตพื้นที่ที่กำหนด รวมทั้งการประกอบธุรกิจนั้นอยู่ภายใต้การส่งเสริมและควบคุมตาม

แผนการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซีมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่แฟรนไชส์ซอร์

 

ธุรกิจแฟรนไชส์ 3 ประเภท

1. Product and Brand Franchising

ผู้ผลิตสินค้าให้สิทธิบุคคลอื่นในการขยายสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยแฟรนไชส์ เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต

2. Business Format Franchising

การให้สิทธิบุคคลอื่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อขายสินค้าหรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของแฟรนไชส์ และต้องใช้ระบบการดำเนินธุรกิจของเจ้าของแฟรนไชส์ เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต เพื่อขายสินค้าหรือบริการ โดยมีการถ่ายทอดวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐาน

3. Conversion Franchising

เป็นระบบแฟรนไชส์ที่พัฒนามาจากแฟรนไชส์ประเภท Business Format โดยการออกแบบระบบเพื่อเปลี่ยนร้านค้าอิสระที่มีอยู่ในระบบนั้น ๆ ให้เข้ามาร่วมในระบบแฟรนไชส์เพื่อได้ประโยชน์ร่วมกันทางการค้าและทำโฆษณาร่วมกันในระดับประเทศ เป็นระบบแฟรนไชน์ที่ให้สิทธิเพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต โดยผู้ผลิตได้เปลี่ยนธุรกิจที่มีอยู่เดิมให้เปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบใหม่

 

ข้อที่ควรมีหนังสือสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์

  1. เครื่องหมายการค้าและข้อกำหนดในการใช้งาน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกรรมสิทธิ์ และข้อกำหนดสำคัญระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ กับ แฟรนไชส์ซี 
  2. การให้สิทธิ์แฟรนไชส์ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียม และการโอนสิทธิ์ ระบุถึงรายละเอียดของรูปแบบร้านแฟรนไชส์ สถานที่ตั้ง ระยะเวลาของสัญญา การต่อสัญญาแฟรนไชส์ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และอื่น ๆ รวมทั้งขอบเขตของการใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา
  3. หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ ทั้งก่อนและหลังเปิดแฟรนไชส์ เพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา เช่น การให้การสนับสนุนด้านต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี เป็นต้น
  4. หน้าที่ของแฟรนไชส์ซี เพื่อให้สามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา เช่น แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแฟรนไชส์ซอร์ เช่น ซื้อสินค้า วัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ อนุญาตใช้เครื่องหมายการค้า เป็นต้น
  5. ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์ที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายให้แฟรนไชส์ซอร์ โดยอาจเรียกเก็บตามสัดส่วนของยอดขายในแต่ละเดือน หรือตามแต่จะตกลงกัน 
  6. เงื่อนไขในการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย รวมถึงการระบุจำนวนเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาและการส่งเสริมการขายที่แฟรนไชส์ซอร์จะเรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซี
  7. บัญชีงบการเงิน รายงาน และการตรวจสอบ โดยแฟรนไชส์ซีต้องเป้นฝ่ายดำเนินการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้แฟรนไชส์ซอร์สามารถเข้าตรวจสอบทางการบัญชีและการเงินได้ 
  8. การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และข้อกำหนดภายหลังการสิ้นสุดสัญญา เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและกรณีต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และผลที่จะเกิดขึ้นจากการทำผิดสัญญาและการยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซี
  9. การไม่เปิดเผยความลับ เนื่องจากแฟรนไชส์ซอร์จำเป็นจะต้องถ่ายทอดวิชาเฉพาะธุรกิจนั้น ๆ ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ร้านอาหารอาจจะมีเคล็ดลับเรื่องสูตรอาหารหรือกลยุทธ์พิเศษในเรื่องของการทำการตลาด เป็นต้น ดังนั้นในสัญญาควรมีการกำหนดในเรื่องนี้ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ ที่จะต้องรักษาความลับแม้กระทั่งเลิกสัญญาต่อกันไปแล้ว
  10. การจัดการข้อพิพาท ระบุถึงเงื่อนไขและการดำเนินการกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ในสัญญาแฟรนไชส์ฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองจะต้องตกลงระหว่างกันให้ทำการฟ้องร้องและดำเนินคดีที่ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญาแฟรนไชส์
  11. การฝึกอบรม ที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเปิดเผยให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้ได้รับรู้และฝึกฝนให้ชำนาญกับผลิตภัณฑ์  ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าต้องอบรมรูปแบบไหนหรืออบรมสถานที่ใด 
  12. ข้อกำหนดเรื่องการเลือกทำเลที่ตั้ง ส่วนใหญ่ระบบแฟรนไชส์บริษัทแม่มักมีส่วนช่วยเลือกทำเลที่ตั้งร้านให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ดังนั้นในสัญญาแฟรนไชส์อาจต้องรายละเอียดในส่วนนี้เอาไว้ด้วย เพราะเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ที่ดี ส่วนมากจะต้องไม่ทำให้ธุรกิจที่ตั้งขึ้นล้มเหลว จึงมักมีความประสงค์ในการมีส่วนช่วยเลือกทำเลที่ตั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจดำเนินกิจการไปได้
  13. กฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจ ในระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องมีการกำหนดกฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจด้วย เพื่อรักษามาตรฐานของร้าน สัญญาแฟรนไชส์จึงจะต้องมีการระบุ ระเบียบที่สำคัญที่จะให้แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติเอาไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ตรวจสอบการดำเนินงานร้าน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของร้าน เป็นต้น

 

หากกำลังสนใจลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องศึกษารายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนจะทำการซื้อขายและเซ็นสัญญาแฟรนไชส์กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ หากต้องการร่างสัญญาธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือต้องการตรวจสอบสัญญาธุรกิจ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://www.sme.go.th/upload/mod_download/5.%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B9%8C(%E0%B8%AA%E0%B8%87.).pdf 

https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/26166

https://www.thaismescenter.com/13-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B9%8C/

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *