ภาคอุตสาหกรรมถือเป็นหนึ่งพาร์ตที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย การแก้ไขและปรับปรุงข้อกฏหมายของพ.ร.บ.โรงงานเพื่อให้การประกอบกิจการโรงงานมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยจุดประสงค์หลักเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กให้สามารถประกอบกิจการง่ายขึ้น และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้รับความสะดวกมากขึ้นในการดำเนินธุรกิจ แต่ยังคงมีการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาส่งผลกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมของประเทศ
ความหมายของ “โรงงาน”
- สถานประกอบกิจการที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังแรงรวมตั้งแต่ 50 แรงม้า หรือมีคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป
การขอใบอนุญาต
- ธุรกิจ SME ที่มีขนาดเล็กที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมน้อยกว่า 50 แรงม้า หรือมีคนงานน้อยกว่า 50 คน จะยังไม่ถือว่าเป็น “โรงงาน” จึงไม่ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
- ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) เมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้วไม่ต้องขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอีกต่อไป
การตรวจสอบ
- ผู้ตรวจสอบเอกชนที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามข้อกำหนดสามารถดำเนินการตรวจสอบโรงงานแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
- ผู้ตรวจสอบเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลย และมีประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 5 ปี ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัย ด้านสารเคมี ด้านไฟฟ้า ด้านพลังงาน ด้านเครื่องกล ด้านโยธา หรือด้านอื่น ที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมด้านหนึ่งด้านใด
- ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องมีการรับรองตนเอง หรือ Self-declared ว่าได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องตามระยะเวลาที่กำหนด
หลักเกณฑ์ในการขยายขนาดโรงงาน
- การเพิ่มจำนวน เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเพื่อประกอบกิจการในโรงงานเดิมหรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโรงงานเดิม ทำให้กำลังแรงม้าเพิ่มขึ้น
- การเพิ่มจำนวน เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรทำให้กำลังแรงม้าเพิ่มขึ้น โดยขยายพื้นที่โรงงานในที่ดินแปลงใหม่ที่ติดกับโรงงานเดิมหรือที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ขยายโรงงานไว้เดิม
การปรับปรุงกฏหมาย พ.ร.บ. โรงงานให้มีความสะดวกเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการทุกขนาด หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฏหมายในเชิงธุรกิจ หรือต้องการปรึกษาทนายในการร่างสัญญาทางธุรกิจ และปรึกษาเรื่องกฏหมายสามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: http://reg3.diw.go.th/diw_info/infographic/company14.html