ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย! ปัญหาหนักอกหนักใจสำหรับเจ้าหนี้บางท่านที่ให้คนกู้เงินแต่ไม่ได้เงินคืนตามสัญญา บ่อยครั้งมีการทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรงและไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราต้องการจะทวงหนี้ผู้อื่นและผู้อื่นจะมาทวงหนี้นั้น การกู้ยืมเงินไม่ใช่เรื่องผิดแต่หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาจนต้องมีการทวงหนี้เกิดขึ้น ต้องดำเนินไปตามหลักของกฎหมายทวงหนี้เพื่อความยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย
ผู้มีสิทธิทวงหนี้ คือ เจ้าของสินทรัพย์ที่ทำการให้ยืมไปไม่ว่าจะเป็นเจ้าของแบบบุคคล สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ เจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย เช่น หนี้การพนัน เป็นต้น ซึ่งรวมถึงตัวแทนหรือผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้และผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้
ลูกหนี้ คือ บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ยืมเงิน ซึ่งรวมถึงผู้ค้ำประกันในการกู้ยืมด้วย หากเกิดกรณีลูกหนี้ผิดสัญญา ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบในส่วนของหนี้ที่ค้ำประกันด้วย
แนวทางการปฏิบัติและข้อห้ามในการทวงถามหนี้
1. ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้เว้นแต่บุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อ
การดังกล่าว สําหรับการติดต่อกับบุคคลอื่นให้กระทําได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบถามหรือยืนยันข้อมูล
เกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้เท่านั้น
2. กําหนดให้ผู้ทวงถามหนี้ต้องปฏิบัติในการติดต่อกับบุคคลอื่นดังต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคล
ซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้
(2) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามีภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานของลูก
หนี้และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อให้ผู้ทวงถามหนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับ
หนี้ได้เท่าที่จําเป็นและตามความเหมาะสม
(3) ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในหนังสือ
หรือในสื่ออื่นใดที่ใช้ในการติดต่อสอบถาม ซึ่งทําให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ของลูกหนี้
(4) ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทําให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้
ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้
3. การทวงถามหนี้ให้ผู้ทวงถามหนี้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) สถานที่ติดต่อ ในกรณีที่ติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้
ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าหรือสถานที่
ที่ได้แจ้งไว้ไม่สามารถติดต่อได้โดยผู้ทวงถามหนี้ได้พยายามติดต่อตามสมควรแล้ว ให้ติดต่อตามภูมิลําเนา
ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทํางานของบุคคลดังกล่าว หรือสถานที่อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
(2) เวลาในการติดต่อ การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น
ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา 08.00 นาฬิกา ถึงเวลา 20.00 นาฬิกาและในวันหยุดราชการ
เวลา 08.00 นาฬิกา ถึงเวลา 18.00 นาฬิกา หากไม่สามารถติดต่อตามเวลาดังกล่าวได้หรือช่วงเวลาดังกล่าว
ไม่เหมาะสม ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
(3) จํานวนครั้งที่ติดต่อ ให้ติดต่อตามจํานวนครั้งที่เหมาะสมและคณะกรรมการอาจประกาศกําหนดจํานวนครั้ง
ด้วยก็ได้
(4) ในกรณีที่เป็นผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้ผู้รับมอบอํานาจช่วงในการทวงถามหนี้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
หรือผู้รับมอบอํานาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ให้ผู้ทวงถามหนี้แจ้งให้ทราบถึงชื่อตัวและชื่อสกุล หรือชื่อ
หน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้และจํานวนหนี้และถ้าผู้รับมอบอํานาจดังกล่าวทวงถามหนี้ต่อหน้า ให้แสดง
หลักฐานการมอบอํานาจให้ทวงถามหนี้ด้วย
4. ในกรณีที่ผู้ทวงถามหนี้ขอรับชําระหนี้ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอํานาจให้รับชําระหนี้จากเจ้าหนี้
ต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ด้วยและเมื่อลูกหนี้ได้ชําระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้แล้ว ให้ผู้
ทวงถามหนี้ออกหลักฐานการชําระหนี้แก่ลูกหนี้ด้วย หากลูกหนี้ได้ชําระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้โดยสุจริต ให้ถือว่าเป็น
การชําระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยชอบ ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ทวงถามหนี้จะได้รับมอบอํานาจให้รับชําระหนี้จากเจ้าหนี้หรือไม่ก็ตาม
5. กําหนดข้อห้ามในการทวงถามหนี้โดยไม่ต้องกระทําการในลักษณะข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือการกระทําที่ทําให้เกิด
ความเสียหายแก่ร่างกายชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นการแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจํานองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่นใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือชื่งให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็น
ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนดแต่มิให้
นํามาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล
6. ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทําให้เกิดความเข้าใจผิดโดยการแสดงหรือ
การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือเครื่องแบบที่ทําให้เข้าใจว่าเป็นการกระทําของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ แสดงหรือมีข้อความที่ทําให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทําโดยทนายความสํานักงานทนายความ หรือสํานักงานกฎหมาย แสดงหรือมีข้อความที่ทําให้เชื่อว่าจะถูกดําเนินคดีหรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน ติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินนการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิตหรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต
7. ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมโดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกําหนด เสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่
สามารถชําระหนี้ได้
8. ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐประกอบธุรกิจทวงถามหนี้หรือสนับสนุนการทวงถามหนี้ซึ่งมิใช่ของตนเว้นแต่ในกรณีที่เป็นหนี้
ของสามีภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานของตน หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีอํานาจกระทําได้ตามกฎหมาย
บทกําหนดโทษ
1. โทษทางปกครอง
กําหนดให้ในกรณีที่คณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้เห็นว่าผู้ทวงถามหนี้ฝ่าฝืนหรือไม่
ปฏิบัติตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้คณะกรรมการฯ มีอํานาจสั่งให้ระงับการกระทําที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติให้
ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กําหนด หากผู้ทวงถามหนี้ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งให้คณะกรรมกาฯ
พิจารณามีคําสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 100,000 บาท โดยให้คํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมที่
กระทําผิดในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองไม่ยอมชําระค่าปรับทางปกครอง ให้นําบทบัญญัติ
เกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม และ
ในกรณีที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดําเนินการบังคับตามคําสั่ง หรือมีแต่ไม่สามารถดําเนินการบังคับทางปกครองได้ให้
คณะกรรมการฯ มีอํานาจฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อบังคับชําระค่าปรับ ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคําสั่งให้ชําระ
ค่าปรับนั้นชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาและบังคับให้มีการยึดหรืออายัด
ทรัพย์สินขายทอดตลาดเพื่อชําระค่าปรับได้ หากผู้ทวงถามหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลต้องรับโทษปรับทางปกครอง
ถ้าการกระทําความผิดของนิติ บุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือไม่สั่งการ หรือการกระทําการหรือไม่กระทําการ
อันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการแทนนิติบุคคลนั้น บุคคลดังกล่าว
ต้องรับโทษปรับทางปกครอง ตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
2. โทษทางอาญา
กําหนดให้กรณีที่เป็นการกระทําความผิดร้ายแรงให้แยกเป็นโทษทางอาญา โดยมีอัตราโทษ
ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ไม่เกิน 3 เดือน – 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 – 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
แล้วแต่ฐานความผิดในกรณีที่ผู้กระทําความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการ
กระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือไม่สั่งการ หรือการกระทําการหรือไม่กระทําการอันเป็น
หน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการแทนนิติบุคคลนั้น บุคคลดังกล่าว
ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
เรื่องเงินทองไม่เข้าใครออกใครหากเป็นหนี้ต้องชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาที่ระบุไว้ หากผิดสัญญาเจ้าหนี้มีสิทธิทวงถามตามขอบเขตในกฎหมายทวงหนี้ แต่หากลูกหนี้โดนทวงหนี้โดยไม่ชอบธรรมก็สามารถร้องเรียนตามกฎหมายทวงหนี้ได้เช่นกัน หากต้องการปรึกษาเรื่องกฎหมาย ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: https://justicechannel.org/downloads/infographic-downloads/debt-collection-rules
https://www.bangkokbiznews.com/social/951948
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1708