ต้นไม้รุกล้ำเขตบ้าน ต้องรับมืออย่างไร?

ปัญหายอดฮิตของคนมีบ้านก็คือเพื่อนบ้านที่รักทุกท่าน บางครั้งอาจมีการรุกล้ำพื้นที่ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจเกิดขึ้น โดยเฉพาะ “ต้นไม้ข้างบ้าน” ที่มักจะเติบโตรุกล้ำเขตบ้านเข้ามาจนเกิดปัญหากวนใจ หากการเจรจาต่อรองแบบสันติไม่เป็นผลอาจจะต้องมีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อรักษาผลประโยชน์ และจบปัญหาที่เกิดขึ้นนี้

 

โดยกฎหมายการปลูกต้นไม้ในเขตแดน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ระบุเอาไว้ว่า 

  • หากมีการบอกกล่าวถึงปัญหากิ่งไม้รุกล้ำเขตบ้านยื่นเข้าไปในที่ดินของบ้านแล้วไม่ได้รับการแก้ไข บ้านที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิ์ตัดกิ่งไม้ที่ล้ำเข้ามาในเขตแดนได้ 
  • หากไม่ได้มีการบอกก่อนหน้านี้ แล้วถือวิสาสะตัดกิ่งไม้ที่ล้ำเข้าไป ถือเป็นการกระทำความผิดละเมิดทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ประกอบมาตรา 421 และเป็นความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดที่สามารถยอมความได้

 

รากไม้

หากรุกล้ำเขตแดนจนก่อให้เกิดปัญหาต่อโครงสร้าง เช่น กำแพงบ้านพัง เจ้าของบ้านผู้เสียหายสามารถดำเนินการตัดรากไม้ได้ โดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของต้นไม้ เนื่องจากก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน

 

กิ่งไม้

หากมีกิ่งไม้รุกล้ำเขตบ้านเข้ามาก่อนดำเนินตัดต้องแจ้งให้เพื่อนบ้านทราบ(เจ้าของต้นไม้) หรือสามารถตัดส่วนที่รุกล้ำออกภายในระยะเวลาอันสมควรก่อน หากแจ้งแล้วเจ้าของต้นไม้ยังไม่ดำเนินการใด ๆ สามารถตัดส่วนที่รุกล้ำได้

 

ลำต้น

หากลำต้นอยู่ตรงแนวเขต (โดยไม่ต้องพิจารณาว่าอยู่ตรงกลางหรืออยู่ล้ำไปทางด้านใดมากกว่ากัน) ให้ถือเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินทั้ง 2 ฝ่ายร่วมกัน เมื่อตัดต้นไม้แล้ว เนื้อไม้ หรือดอกผล เป็นของทั้ง 2 ฝ่ายเท่ากัน

 

ดอกหรือผล

หากยังไม่ร่วงหล่นเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน การตัดหรือเก็บมาจากต้นถือเป็นความผิดอาญา หากร่วงหล่นลงมาในที่ดินแล้ว ดอกหรือผลจะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำ

 

การอยู่ร่วมกันในชุมชนอาจก่อให้เกิดปัญหากวนใจหรือมีเหตุให้เกิดการเจรจาเพื่อรักษาผลประโยชน์ไม่ให้โดนเอารัดเอาเปรียบ หากเกิดข้อสงสัยหรือมีปัญหาเกี่ยวการที่พักอาศัย ต้องการปรึกษาข้อกฎหมายหรือดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *