หลายคนอาจจะคิดว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจกับเพื่อนหรือคนรู้จักนั้นน่าจะสบายใจและง่ายกว่าการทำธุรกิจกับพาร์ทเนอร์คนอื่น แต่ในทางกลับกันความคุ้นเคยกันนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินธุรกิจได้อย่างง่ายดายเช่นกัน จึงมีคำเตือนที่ว่า “ถ้าไม่อยากเสียเพื่อน อย่าคิดทำธุรกิจกับเพื่อน” เพราะเรื่องผลประโยชน์นั้นไม่เข้าใครออกใคร แต่สามารถป้องกันได้หากมีการแบ่งหุ้นหรือผลกำไรอย่างชัดเจน
การแบ่งสัดส่วนหุ้น
ในการแบ่งสัดส่วนของการถือหุ้นนั้นควรมีหุ้นส่วนหลักเป็นแกนไว้ ไม่ควรถือหุ้นแบบ 50/50
เพราะเมื่อเกิดข้อโต้แย้งจะทำให้ไม่สามารถสรุปผลได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการแบ่งสัดส่วนหุ้นนั้นอาจจะพิจารณาได้จากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ โดยสัดส่วนในการแบ่งนั้นต้องมีการเห็นชอบจากทุกฝ่ายในการก่อตั้งธุรกิจ
ปัจจัยส่วนบุคคลที่อาจจะส่งผลต่อการพิจารณาการแบ่งสัดส่วนหุ้นในธุรกิจ
- เวลา (Time) ความทุ่มและเวลาในการทำงานให้ธุรกิจ เช่น จำนวนชั่วโมงในการสร้าง application, จำนวนชั่วโมงในการหาลูกค้า, จำนวนชั่วโมงในการคิดรูปแบบธุรกิจ เป็นต้น ปัจจัยนี้จะเหมาะกับคนที่มีความแตกต่างในการทำงานแบบ full-time และ part-time ที่มาร่วมเปิดธุรกิจด้วยกัน หรือมีความเชี่ยวชาญคนละด้านกัน
- เงินทุน (Cash) สามารถอยู่ในรูปแบบของเงินสดหรือเครดิตส่วนตัว โดยส่วนใหญ่จะตีมูลค่าได้ง่ายโดยใช้จำนวนเงินที่มีการใส่เข้ามายังธุรกิจ
- ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) หรือ ไอเดีย (Idea) ผู้ก่อตั้งบางคนอาจมี innovation ติดตัวมาก่อน หรือเป็นคนคิดไอเดียการทำธุรกิจให้เป็นรูปธรรม สามารถประเมินเป็นมูลค่าในการสร้างธุรกิจได้
- สำนักงานและอุปกรณ์ (Business Facilities) อาจอยู่ในรูปแบบของการใช้บ้านเป็นสำนักงานชั่วคราว จัดหาอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการใช้งาน สามารถตีมูลค่าเป็นตัวเงินแทนการจ่ายออกเป็นค่าเช่า
- ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ (Business Relationship) คนบางคนอาจจะมีเครือข่ายทางธุรกิจรู้จักกับผู้คนหลากหลาย ซึ่งสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาคิดเป็นมูลค่าในการก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ธุรกิจ
1. การแบ่งหุ้นจากเงินทุน
ในการก่อตั้งธุรกิจเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นผู้ที่ลงทุนมากที่สุดจะได้เป็นหุ้นส่วนใหญ่สุดซึ่งเป็นการแบ่งหุ้นที่ง่ายและชัดเจนที่สุด
เช่น นาย A ลงทุน 700,000 บาท
นาย B ลงทุน 300,000 บาท
ดังนั้น ในการดำเนินธุรกิจนี้แบบ 70/40 ซึ่งนาย A มีสิทธิ์ในการตัดสินใจเป็นหลักเพราะถือหุ้นอยู่ 70%
2. การแบ่งหุ้นจากเงินทุนโดยการทำงาน
บางครั้งในการประกอบธุรกิจอาจจะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคลเป็นส่วนประกอบ ซึ่งความเชี่ยญชาญนั้นอาจจะตีออกมาเป็นมูลค่าแทนตัวเงินทุนจริง ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ การแบ่งหุ้นส่วนแบบนี้จะพบได้มากในธุรกิจที่เป็นเพื่อนกัน โดยจะการประเมินค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะมีฝ่ายที่ลงเงินทุนกับฝ่ายที่ลงแรงในการลงทุน
เช่น ลงทุนธุรกิจร้านกาแฟ มีการประเมินว่าจะใช้เงินทุนตลอด 1 ปี คือ 500,000 บาท
อาจจะประเมินได้ว่า
- 200,000 บาท เป็นต้นทุนค่าจ้างผู้จัดการร้าน ต่อปี (เดือนละ 16,666 บาท)
- 300,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นตลอดทั้งปี
ดังนั้น คนแรกที่ต้องการลงแรงในการเป็นผู้จัดการร้านจะทำให้เสมือนกับว่าใส่เงินทุนเข้ามาในกิจการนี้ 200,000 บาท และเพื่อนอีกคนหนึ่งที่เป็นคนลงทุนก็จะใส่เงินลงทุนในกิจการนี้เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท ก็จะทำให้สามารถคิดสัดส่วนหุ้นกันได้แบบ 60/40
สำหรับคนที่คิดจะเริ่มต้นธุรกิจกับเพื่อนหรือคนคุ้นเคย หากร่วมมือกันวางแผนอย่างรัดกุมก็ไม่ต้องกังวลในเรื่องของความขัดแย้งที่อาจจะเกิด แต่เพื่อป้องกันข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นก็ควรมีหนังสือสัญญาทางธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน เพราะผลประโยชน์นั้นไม่เข้าใครออกใคร หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย หรือต้องการคำแนะนำในการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm
เครดิต: https://classic.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1589947891360.pdf
https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/partnership-sme-tips
https://inflowaccount.co.th/good-partner/