ชวนมารู้จักศัพท์กฎหมาย

กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัวเพราะในชีวิตประจำวันเราทุกคนนั้นเกี่ยวข้องกับกฎหมายอยู่เสมอโดยไม่รู้ตัว อาทิเช่น การเช่าบ้าน การซื้อของ การเซ็นสัญญา และอื่น ๆ อีกมากมาย หากทำการศึกษาข้อมูลกฎหมายเบื้องต้นเพื่อเป็นความรู้รอบตัวก็จะช่วยให้ไม่โดนเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น แต่ภาษาในทางกฎหมายนั้นมีลักษณะเฉพาะซึ่งบุคคลทั่วอาจจะเกิดความสับสนและไม่เข้าใจได้ ดังนั้นวันนี้มาทำความรู้จักกับคำศัพท์นิติกรรมเบื้องต้นกันค่ะ

 

นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมาย ที่จะเกิดขึ้นเพื่อการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้ และพินัยกรรม เป็นต้น

  • นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย
  • นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างต้องตกลงยินยอมระหว่างกัน

 

สัญญา คือ นิติกรรมชนิดหนึ่งจึงอาจคุ้นหูกับคำว่า “นิติกรรมสัญญา” โดยเป็นนิติกรรมที่มีบุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไปมาตกลงกัน โดยแสดงเจตนาในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกันจึงเกิดการทำสัญญา

  • เช่าทรัพย์ คือ สัญญาที่มีบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายแรกคือ ผู้ให้เช่า และฝ่ายที่สองคือ ผู้เช่า โดยที่ผู้ให้เช่าได้ตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน โดยผู้เช่าตกลงจะให้ค่าตอบเเทนแก่ผู้ให้เช่าเป็นค่าเช่า
  • กู้ยืมเงิน คือ สัญญาที่มีบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายแรกคือ ผู้ให้กู้ยืม และฝ่ายที่สองคือ ผู้กู้ยืม โดยผู้ให้กู้ยืมจะส่งมอบเงินให้แก่ผู้กู้ยืม และผู้กู้ยืมตกลงว่าจะคืนเงินดังกล่าว โดยสัญญาจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อส่งมอบเงินให้แก่ผู้กู้ยืมเรียบร้อยแล้ว
  • ผู้ค้ำประกัน คือ สัญญาที่ผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผูกพันตนเองว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หากครบกำหนดชำระหนี้แล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
  • จำนำ คือ สัญญาที่ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ ทองคำ โทรทัศน์ เป็นต้น ให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
  • จำนอง  คือ สัญญาที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สินที่เป็นอสัหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน เป็นต้น เป็นหลักประกันการชำระหนี้ไว้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
  • คำเสนอ การแสดงเจตนาของบุคคลหนึ่งแจ้งให้บุคคลอีกคนหนึ่งทราบว่าตนต้องการจะผูกพันตนทำสัญญา
  • คำสนอง การแสดงเจตนาของผู้รับคำเสนอเพื่อตอบรับทำสัญญาตามคำเสนอ
  • คำมั่น การแสดงเจตนาของบุคคลหนึ่ง ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำเสนอ คือ ผูกพันผู้ให้คำมั่นว่าตนจะรักษาคำมั่นนั้นจนกว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับคำมั่นจะสิ้นสุดลง
  • โมฆะกรรม นิติกรรมที่เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย เสมือนไม่เคยเกิดนิติกรรมนั้นขึ้นเลย
  • โมฆียะกรรม นิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายตั้งแต่ทำนิติกรรมจนกว่าจะถูกบอกล้างซึ่งหากถูกบอกล้างก็จะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ ย้อนไปถึงขณะเริ่มทำนิติกรรม

 

การเลิกสัญญา คือ การที่คู่สัญญาแสดงเจตนาที่จะระงับหรือเพิกถอนความผูกพันตามสัญญาที่ได้ทำกันเอาไว้ให้สิ้นสุดลง

ซึ่งคำศัพท์ทางกฎหมายนั้นยังมีอีกมากมายและมีความเฉพาะตัวอาจจะก่อให้เกิดความไม่กระจ่างให้กับบุคคลทั่วไป ดังนั้นหากต้องการดำเนินการทางกฎหมายควรปรึกษาทนายความหรือสำนักงานกฎหมายที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ Balance Niti Law Firm สำนักงานทางกฎหมายที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายนด้านต่าง ๆ ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: https://dla.wu.ac.th/th/archives/3585 

https://www.dharmniti.co.th/void-law/ 

http://law.crru.ac.th/attachments/article/175/08.pdf 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *