จอดรถหน้าบ้านตัวเองแท้จริงแล้วผิดกฎหมายหรือไม่ ?

“ปัญหาเรื่องการจอดรถ หรือ ที่จอดรถ” ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ ที่ทำให้ผู้ประสบปัญหาเหล่านี้ต่างถกเถียงกันว่า ใครถูก? ใครผิด? แบบนี้จอดได้? แบบนั้นจอดไม่ได้? หรือร้ายแรงที่สุด คือเกิดการทะเลาะวิวาทจนเป็นข่าวให้เห็นกันในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะการจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ในหมู่บ้าน หรือ หน้าบ้านตัวเอง ที่หลายคนอาจเข้าใจว่า “พื้นที่เหล่านี้ไม่มีใครเป็นเจ้าของ” จึงคิดว่าไม่มีอะไร คงไม่ผิดหรอกถ้าจะจอดรถไว้บริเวณนี้

 

แต่คุณรู้หรือไม่…ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือ กีดขวางทางจราจร ก็ถือว่า “มีความผิด” แต่จะผิดมากผิดน้อยแค่ไหน และ จะแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ วันนี้ BalanceNiti จะพาทุกคนไปเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับ

กฏหมายเหล่านี้กันกัน

 

ผิดไหม…ถ้าหากจอดริมรั้ว หรือ จอดบนถนนหน้าบ้านตัวเอง ?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพื้นที่หน้าบ้าน “ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้าน” แต่เป็นเพียงพื้นที่

ที่อยู่ติดกับตัวบ้าน ผู้อื่นจึงยินยอมให้เจ้าของบ้านนั้นใช้ประโยชน์ได้ก่อน แต่การใช้ประโยชน์นั้นต้อง

ไม่ผิดกฎหมาย และ ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นจนได้รับความเดือดร้อน นอกจากนี้สิทธิ์ที่เจ้าของบ้านจะได้เพิ่มเติมคือ ช่องประตูที่ขออนุญาตไว้เรียบร้อยแล้วว่าเป็นทางเข้า-ออก โดยจะถูกระบุไว้ว่าเป็นทางสัญจร ซึ่งถือเป็นทางสัญจรสำหรับเจ้าของบ้านคนเดียว

 

กฎหมายห้ามจอดรถบริเวณใดบ้าง ?

กระทรวงยุติธรรม ได้มีการชี้แจงข้อกฎหมายเพื่อไขข้อข้องใจไว้ ตาม “พ.ร.บ. จราจรทางบก

พ.ศ. 2522 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง” บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ

 

  • ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้าย

ของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง

  • บนทางเท้า
  • บนสะพานหรือในอุโมงค์
  • ในทางร่วมทางแยก
  • ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
  • ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
  • ในเขตปลอดภัย
  • ในลักษณะกีดขวางการจราจร

 

ดังนั้นหากเป็นถนนในหมู่บ้าน การจอดรถไว้ริมรั้ว ริมถนนหน้าบ้านตนเอง หรือ หน้าประตูเข้าออกบ้านตนเองที่ถือเป็นทางสัญจรสำหรับเจ้าของบ้าน ก็ยังถือว่ามีโอกาสผิดในข้อต่าง ๆ ได้ หากเป็นกรณีดังต่อไปนี้

 

  • จอดรถอยู่ในบริเวณทางร่วม ทางแยก
  • จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
  • จอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
  • จอดรถในเขตปลอดภัย
  • จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร

 

บทลงโทษทางกฎหมาย

 

1. โทษทางอาญา

ตามประมวลกฎหมายอาญา “มาตรา 397” ว่าด้วย “การกระทำใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล หรือ เป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน” หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ”

 

2. โทษทางแพ่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “มาตรา 420” บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

 

แม้การจอดรถบนถนนในหมู่บ้าน หรือ ในพื้นที่สาธารณะ จะเป็นเรื่องที่พูดคุยเจรจากันเบื้องต้นก่อนเกิดเหตุการณ์บานปลายได้ แต่ “การรู้จักขอบเขตสิทธิ์ของตัวเอง” และ “เคารพกฎของการอยู่ร่วมกันในสังคม” ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณไม่ทำในสิ่งที่ฝ่าฝืนกฎจนทำให้ผู้อื่นเกิดความเดือดร้อนได้

 

หากต้องการปรึกษาคดีความ ดำเนินการทางกฎหมาย หรือต้องการทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎหมาย ติดต่อได้ที่ Line : @balanceniti และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสาระน่ารู้ต่าง ๆ ของเราได้ที่ Facebook : Balance Niti Law Firm

 

เครดิต: กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 374 : จอดรถหน้าบ้านตัวเองแท้จริงแล้วผิดกฎหมายหรือไม่ (moj.go.th)

จอดรถหน้าบ้านตัวเอง “ผิดกฎหมาย” หรือไม่? (sanook.com)

จอดรถหน้าบ้าน ผิดไหม กฎหมายที่เจ้าของรถ และเจ้าของบ้านต้องรู้ เรื่อง จอดรถ (komchadluek.net)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *